สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

กิจกรรมนี้จัดขึ้นโดย SHECU ร่วมกับภาคีเครือข่าย คปอ. จุฬาฯและศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม  เพื่อมุ่งสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยฯ และส่งเสริมการสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีในการเรียนและการทำงาน

66159 01

 

                  วันที่ 17 ส.ค.​ 2566 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ นำโดย รศ.ดร.เฉลิมชัย​ ชัยกิตติภรณ์​ ที่ปรึกษาสมาคมฯ​ และนายโสภณ พงษ์โสภณ ผู้จัดการสมาคมฯ​ ร่วมกิจกรรมเปิดงานสัปดาห์ความปลอดภัยประจำปี 2566 (Chula Safety 2023)​ และร่วมปาฐกถาในหัวข้อ "ความร่วมมือในการขับเคลื่อนความปลอดภัยสู่สุขภาวะในการทำงานที่ดีอย่างยั่งยืน" (Wellwork & Wellbeing: Thriving Together) เกี่ยวกับนโยบาย แนวคิดการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยฯ​

                  กิจกรรมนี้จัดขึ้นโดย SHECU ร่วมกับภาคีเครือข่าย คปอ. จุฬาฯและศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม  เพื่อมุ่งสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยฯ และส่งเสริมการสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีในการเรียนและการทำงาน

โดยการนำมิติทางด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก มาบูรณาการเพื่อการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานในสถานประกอบการทุกระดับ

 

       สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ นำทีมโดย นายประสพชัย ยูวะเวส  นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ และ รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ พร้อมคณะกรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ เข้ามอบรางวัล Thailand Vision Zero ให้กับ บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (โรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) , บริษัท กรีนสวิลล์ จำกัด และ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) โดยการนำมิติทางด้านความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก มาบูรณาการเพื่อการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานในสถานประกอบการทุกระดับ

 

21 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมเกวลินสฤษดิ์ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ จัดประชุม "คณะอนุกรรมการสัมมนาวิชาการ APOSHO ครั้งที่ 38" ครั้งที่ 3/2566

66154 1

 

                    21 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมเกวลินสฤษดิ์ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ จัดประชุม "คณะอนุกรรมการสัมมนาวิชาการ APOSHO ครั้งที่ 38" ครั้งที่ 3/2566 กล่าวเปิดประชุมโดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ ประธานคณะกรรมการ ฯ ดำเนินการประชุมโดย ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีการวางแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับหัวข้อสัมมนาและKeynote Speakers การประชุมสัมมนาวิชาการ APOSHO ครั้งที่ 38 พ.ศ. 2567 ร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.) เป็นต้น

                   คณะอนุกรรมการฯ มีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญถึงการประชุมและสัมมนา APOSHO ครั้งที่ 38 เพื่อเป็นการขับเคลื่อน รวมถึงเผยแพร่วัฒนธรรมความปลอดภัยที่มีความยั่งยืน ของประเทศไทยไปสู่นานาชาติ

 

66147 04

 

                 ในวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566  สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ นำโดย นายประสพชัย ยูวะเวส นายกสมาคมฯ พร้อมคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาสมาคมฯและสมาชิกสมาคมฯ เข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 จัดขึ้น ณ ห้องอมรินทร์ ชั้น 3 โรงแรมเอส.ดี อเวนิว ปิ่นเกล้า กรุงเทพมหานคร

                  โดยการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ได้มีการเสวนาหัวข้อ “มุมมองการปฏิบัติหน้าที่จป.ภายใต้พรบ.ความปลอดภัยฯ กับข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ” และมีการรายงานผลการดำเนินงาน รวมถึงรายงานการเงินของสมาคมฯ ในปีที่ผ่านมา โดยมีสมาชิกและผู้ติดตามเข้าร่วมประชุม 114 ท่าน

                  สมาคมฯ ขอมอบของที่ระลึกเพื่อแทนคำขอบคุณสมาชิกที่เข้าร่วมงานทุกท่าน ที่ได้เสียสละเข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ที่ผ่านมา ให้ผ่านไปได้ด้วยดี

กิจกรรมนี้ สมาคมฯ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ดอกมะลิ จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์การสาธารณประโยชน์ ที่ดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคม

66143_1.jpg (1618×1011)


                 📢ในวันที่ 11 สิงหาคม 2566 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ จัดกิจกรรม “SHAWPAT ชวนรำลึกถึงพระคุณแม่” เนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา 12 สิงหาคม 2566 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

                👉นำโดย นายโสภณ พงษ์โสภณ ผู้จัดการสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ ได้มอบผลิตภัณฑ์ดอกมะลิ ให้แก่เจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ เพื่อส่งต่อไปยังคุณแม่หรือผู้มีพระคุณ ในวันแม่ปี 2566 นี้ 👩‍👧🤰🤱👩‍👦‍👦

               ❇️❇️กิจกรรมนี้ สมาคมฯ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ดอกมะลิ จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์การสาธารณประโยชน์ ที่ดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคม
               🌼💠ทุกท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ “ดอกมะลิ” สัญลักษณ์แทนความรักและร่วมระลึกถึงพระคุณแม่และผู้มีพระคุณ จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ที่ https://shorturl.asia/Dkv2V

66116 15

 

ในวันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00 น. สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้ต้อนรับคณะจาก Japan Industrial Safety and Health Association (JISHA)  ซึ่งได้มาประชุมเกี่ยวกับการจัด Workshop ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานพร้อมเยี่ยมชมสมาคม โดยได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อทำ Workshop ตามที่สนใจ  

 ในวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม นายรังสฤษฏ์  จันทรัตน์ อดีตนายกสมาคม

66117 23              

                 ในวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม นายรังสฤษฏ์  จันทรัตน์ อดีตนายกสมาคม โดยมีคณะผู้บริหาร ที่ปรึกษา กรรมการสมาคมและเจ้าหน้าที่สมาคมร่วมงาน ณ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จังหวัดนนทบุรี

คณะอนุกรรมการให้ความสำคัญถึงการประชุมและสัมมนา APOSHO ครั้งที่ 38 เพื่อเป็นการขับเคลื่อน เผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยในระดับนานาชาติ เพื่อให้คนทำงานมีความปลอดภัย มีสุขภาพที่ดี และมีความสุขในการทำงาน

66112 1

 

                3 กรกฎาคม 2566 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมเกวลินสฤษดิ์ สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ จัดประชุม "คณะอนุกรรมการสัมมนาวิชาการ APOSHO ครั้งที่ 38" ครั้งที่ 2/2566 กล่าวเปิดประชุมโดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ ประธานคณะกรรมการ ฯ ดำเนินการประชุมโดย ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีการสรุปกำหนดการ และนำเสนอ Keynote Speakers อีกทั้งหัวข้อในการสัมมนาและ Theme งานประชุม APOSHO ครั้งที่ 38

                คณะอนุกรรมการให้ความสำคัญถึงการประชุมและสัมมนา APOSHO ครั้งที่ 38 เพื่อเป็นการขับเคลื่อน เผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยในระดับนานาชาติ เพื่อให้คนทำงานมีความปลอดภัย มีสุขภาพที่ดี และมีความสุขในการทำงาน

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชราชูปถัมภ์ฯ นำโดย คุณสุพิชญา สอนสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายสนามฝึกอบรมและพัฒนางานภาคปฏิบัติ ในฐานะผู้จัดการทีม Total Rescue Team นำสมาชิกเข้าร่วมการแข่งขันกู้ภัยด้วยระบบเชือกประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 The 2nd Thailand Rope Rescue Competition 2023 (TRRC 2023) ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2566 ณ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

66111 11

                    สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชราชูปถัมภ์ฯ นำโดย คุณสุพิชญา สอนสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายสนามฝึกอบรมและพัฒนางานภาคปฏิบัติ ในฐานะผู้จัดการทีม Total Rescue Team นำสมาชิกเข้าร่วมการแข่งขันกู้ภัยด้วยระบบเชือกประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 The 2nd Thailand Rope Rescue Competition 2023 (TRRC 2023) ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2566 ณ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
                    โดยมีทีมผู้เข้าแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 5 ทีม ได้แก่
                    1. ANATHA TEAM
                    2. TOTAL RESCUE TEAM
                    3. SOUTHERN ROPE TEAM
                    4. BANGKOK FIRE RESCUE DEPARTMENT
                    5. เทศบาลนครรังสิต

                    ผลตัดสินจากการแข่งขันกู้ภัยด้วยระบบเชือกประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566The 2nd Thailand Rope Rescue Competition 2023 (TRRC 2023) ทีม TOTAL RESCUE TEAM สังกัดสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ไปครองสำหรับการแข่งขันกู้ภัยด้วยระบบเชือกประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 The 2nd Thailand Rope Rescue Competition 2023 (TRRC 2023) เป็นรายการแข่งขันที่เปิดโอกาสให้กับทีมเจ้าหน้าที่ กู้ภัย EMT ERT ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสาธารณกุศลที่มีการทำงานด้วยระบบเชือกได้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากร พร้อมทั้งยกระดับทีมกู้ภัยในประเทศไทย ในการประยุกต์อุปกรณ์และแนวทางการกู้ภัยได้ในหลายรูปแบบให้มีศักยภาพ และมีความปลอดภัยมากขึ้น ฐานการทดสอบที่ถูกกำหนดขึ้นใช้กฎระเบียบการให้คะแนนที่ทีมแข่งขันฯ สามารถนำไปต่อยอดไปสู่การแข่งขันการทีมกู้ภัยด้วยระบบเชือกในระดับสากลได้ โดยกำหนดให้มีการใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ มีระยะทางประมาณ 50 เมตร บนเส้นเชือกที่รับน้ำหนัก 2 เส้น ลำเลียงเปลในแนวนอน แนวตั้ง และระบบ High Line ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องมีมาตรฐานรับรองเท่านั้น ไม่จำกัดอุปกรณ์และแบรนด์ที่ใช้ในการแข่งขัน อีกทั้งยังมียานพาหนะที่สามารถขนส่งทีมและอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันแต่ละฐานการทดสอบ