65184_6.jpg (1080×1080)

                 ในวันที่ 6 กันยายน 2565 Asian Workers’ Compensation Association (AWCA) ได้จัดงานสัมมนา “Navigating Social Security & Wellbeing Post COVID in Asia” ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เปิดงานโดย YB Datuk Haji Awang bin Hashim รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงแรงงาน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โดย ดร. ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรในหัวข้อ "Vision Zero in the Digital Era" ในนามของ "Vision Zero Experience in Thailand"

                 การสัมมนาดังกล่าวมีสมาชิกจากหลายประเทศเข้าร่วมฟังสัมมนามากกว่า 200 คน ถือเป็นหัวข้อที่น่าสนใจที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Vision Zero ในประเทศไทย อีกทั้งทำให้เห็นทิศทางในการพัฒนารวมถึงการบูรณาการด้านความปลอดภัย ด้านสุขภาพ และด้านความผาสุก ให้กับแรงงานทั่วโลกภายใต้ยุทธศาสตร์ Vision Zero ของประเทศอื่น ๆ อีกด้วย

65182_1.jpg (3508×2481)

                ในวันที่ 6-8 กันยายน 2565 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ในนามตัวแทนประเทศไทย ได้รับเกียรติจาก Asian Workers’ Compensation Association (AWCA) ให้เข้าร่วมการสัมมนา “Navigating Social Security & Wellbeing Post COVID in Asia” ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมี ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ เดินทางเข้าร่วมเป็นวิทยากรในนามตัวแทนของสมาคมฯ และในนาม Vision Zero Experience in Thailand เพื่อแลกเปลี่ยนในหัวข้อ "Vision Zero in the Digital Era"

              สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ ซึ่งเป็นสมาชิกของ International Social Security Association (ISSA) Mining Section และเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Vision Zero ในประเทศไทย มีความยินดีที่สนับสนุนงานวิชาการทางด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ Vision Zero

65181_2.jpg (1080×1080)

                 วันที่ 30 สิงหาคม 2565 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม ให้ดำเนินการโครงการ "ขับเคลื่อนและส่งเสริมยุทธศาสตร์ Safety Thailand ด้วยวิสัยทัศน์ความปลอดภัยสู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน (Vision Zero) สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ประจำปี 2565" จัดประชุมชี้เเจงแผนการให้คำปรึกษา และการตรวจประเมิน ดำเนินการประชุม โดยนางสาวพรทิพย์ สุขพลาย หัวหน้าฝ่ายบริหารโครงการพิเศษ เครือข่ายและสมาชิกสัมพันธ์ ซึ่งการประชุมดังกล่าวมี
มีที่ปรึกษาและผู้ตรวจประเมิน เข้าร่วมฟังและหารือเกี่ยวกับแผนการลงพื้นที่ให้คำปรึกษา และการตรวจประเมิน เพื่อให้มีแนวทางการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งยังตอบวัตถุประสงค์และบรรลุตัวชี้วัดของโครงการตามคำแนะนำของกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม

                 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสถานประกอบกิจการในด้านความปลอดภัย ด้านสุขภาพและด้านความผาสุกในการทำงาน ผ่านกระบวนการให้คำปรึกษาและตรวจประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ Vision Zero เพื่อให้สถานประกอบกิจการนำไปพัฒนา รวมถึงประยุกต์ใช้ จนทำให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน

65180_05.jpg (1080×720)

             ในวันที่ 2-4 กันยายน 2565 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย​ฯ​ ร่วมกับศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ (SHECU)​ จัดนิทรรศการผลงานด้านความปลอดภัย​ ในกิจกรรมสัปดาห์ความปลอดภัย​ (Chula​ Safety​2022)​ ภายในงาน​ Chula​ Sustainability​ Fest​ 2022

             โดยมี​ คุณชัชชาติ​ สิทธิพันธุ์​ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมเปิดงานและชมบูธนิทรรศการ​ และ​คุณ​สุมาลี​ ชนะชาญมงคล​ เป็นผู้แทนจากสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย​ฯ​ เข้าร่วมพิธีเปิดงาน​ในนามหน่วยงานภาคีเครือข่าย​

             ซึ่งในงานนี้​ หน่วยงานผู้จัดงานได้ให้ความสำคัญในด้านการสร้างสังคมดี​ มีสุขด้วยวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นที่สนใจในกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มนิสิตนักศึกษา​ และกลุ่มภาคีเครือข่าย

65179_05.jpg (1890×1417)

✳️✳️ในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้ผนึกกำลังความร่วมมือกับศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) และบริษัท เจี่ยรักษา จำกัด จัดงานเสวนาหัวข้อ “AED: กุญแจสำคัญสู่การรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน” เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการปฐมพยาบาลโดยใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED และการติดตั้งเครื่อง AED ในพื้นที่ทำงานและอาคารต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้องค์กร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องได้รับความรู้ความเข้าใจในหลักการปฐมพยาบาลและการใช้เครื่อง AED อย่างถูกต้อง

?‍??‍⚕️ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากร นายแพทย์คมชิต ชวนัสพร จากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ได้กล่าวถึงภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในที่ทำงานว่า เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องรักษาทันที ด้วยการทำการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และใช้เครื่อง AED เมื่อจำเป็นเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ ซึ่งหากมีการใช้อย่างถูกต้องภายใน 3-5 นาที จะสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้
และนพ.สมชาย แซ่เจี่ย บริษัท เจี่ยรักษา จำกัด ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์และ เครื่อง AED ชั้นนำในประเทศไทย ได้แนะนำมาตรฐานและคุณสมบัติต่าง ๆ ของเครื่อง AED ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือ สพฉ. ได้กำหนดไว้ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเครื่อง AED ต้องมีลักษณะการทำงานแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ และมีปุ่มสำหรับปล่อยพลังงานไฟฟ้า และตัวเครื่องมีมาตรฐานเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์

?​?​ในงานเสวนาหัวข้อ “AED: กุญแจสำคัญสู่การรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน” เป็นหัวข้อองค์ความรู้ใกล้ตัว ที่มีผู้สนใจจำนวนมาก โดยในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการอบรม ณ โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เทอร์มินอล 21 จำนวน 36 ท่าน และรับชมผ่านช่องทาง Facebook Live จำนวน 42 ท่าน

65173_1resize.jpg (1040×1040)

??กิจกรรมพิเศษ สำหรับสมาชิก SHAWPAT ✨

?ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมอบรมฟรี‼️ ในหัวข้อ “AED: กุญแจสำคัญสู่การรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน” (ด่วนรับจำนวนจำกัด 1 บริษัท / 2 ท่าน)
?️พร้อมรับวุฒิบัตรหลังการอบรม?️
?วันพุธ ที่ 31 ส.ค. 65 เวลา : 13.00 - 17.00 น.
?สถานที่ : โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เทอร์มินอล 21 (ห้องสุขุมวิท 1 และ 2/ ชั้น C)
??????????
?‍?พบกับวิทยากร?‍⚕️
1.นายแพทย์คมชิต ชวนัสพร จากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
➖อันตรายของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โดยเฉพาะในสถานที่ทำงาน
➖ห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต (chain of survival) และการช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันด้วยเครื่อง AED

2.นพ.สมชาย แซ่เจี่ย บริษัท เจี่ยรักษา จำกัด
➖ความสำคัญของเครื่อง AED เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
➖มาตรฐาน สพฉ. ที่กำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของเครื่อง AED มีส่วนสำคัญต่อการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร
✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨
สามารถอ่านข้อมูลกำหนดการและลงทะเบียน ได้ที่ https://forms.gle/LiQ7YjvzcTW9EE258 หรือ สแกน QR Code ได้ตั้งแต่วันนี้ – 28 ส.ค. 65 นี้

65168_01.jpg (2048×1365)

วันพฤหัสบดี ที่ 18 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ นำโดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมฯ พร้อมคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาสมาคมฯและสมาชิกสมาคมฯ เข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 จัดขึ้น ณ ห้องอมรินทร์ ชั้น 3 โรงแรมเอส.ดี อเวนิว ปิ่นเกล้า กทม.

โดยการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 ได้มีการรายงานผลการดำเนินงาน รวมถึงรายงานการเงินของสมาคมฯ ในปีที่ผ่านมา และมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมฯ โดยมีสมาชิกและผู้ติดตามเข้าร่วมประชุม 145 ท่าน

สมาคมฯ ขอมอบของที่ระลึกเพื่อแทนคำขอบคุณสมาชิกที่เข้าร่วมงานทุกท่าน ที่ได้เสียสละเข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 ที่ผ่านมา ให้ผ่านไปได้ด้วยดี