สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

65133_CC65023_2resize.jpg (1040×1040)

              พันเอกหญิง สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร (16 เมษายน พ.ศ. 2427 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482) เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 48 ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2427 เป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยาม และเป็นพระโสทรเชษฐภคินีในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

              สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเล็งเห็นความสำคัญกับการศึกษาของสตรีไทย เช่น ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของโรงเรียนราชินี การก่อสร้างโรงเรียนราชินีบน และทรงจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์) เป็นต้น

ร่วมสร้างวัฒนธรรมไทยเชิงป้องกัน สู่ความปลอดภัย ในงาน "ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 34"

ในงาน Thailand safe@work#34 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธนิทรรศการของสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิติภรณ์ นายกสมาคมและกรรมการสมาคมให้การต้อนรับ

งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 34 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ร่วมสร้างวัฒนธรรมไทยเชิงป้องกัน สู่ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความผาสุกที่ยั่งยืน

➡️ ด้านยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการและวัฒนธรรมความปลอดภัย

➡️ ด้านกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัย

➡️ ด้านความปลอดภัยที่วิกฤต (Critical Safety) และการปฏิบัติที่ดี (Best Practices)

➡️ ด้านอาชีวอนามัย

➡️ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ทุกท่านสามารถเข้าชมงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 34 ได้

? 30 มิ.ย. 2565 ตั้งแต่เวลา 12.00 – 18.00 น.

?  1 - 2 ก.ค. 2565 เวลา 09.00 – 18.00 น.

ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1, รอยัล จูบิลี่ บอลรูม, เดอะ พอร์ทอล บอลรูม, ห้องจูปิเตอร์ 4 – 13 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

#SHAWPAT

65128_8.jpg (1772×1182)

65128_9.jpg (700×80)

เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

กรอบแนวคิด

                    2) พัฒนาระบบความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ โดยเน้นสถานประกอบการกลุ่มเสี่ยงและมีการประสบอันตรายสูง

                    3) ศึกษาและทบทวนระบบการเฝ้าระวังทางสุขภาพในคนงานที่อาจจะป่วยเป็นโรคจากการทำงานแบบเรื้อรัง

                    4) พัฒนาระบบการป้อง การประสบอันตรายจากการทำงานหรือโรคจากการทำงาน ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายของกองทุนเงินทดแทน

วัตถุประสงค์ 

                    1.เพื่อให้สถานประกอบกิจการตระหนักรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่จะส่งผลกระทบกับสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่ทำงานสัมผัสเสียงดัง

                    2 เพื่อให้สถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่ทำงานสัมผัสสารเคมีอันตรายมีรูปแบบการบริหารจัดการเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและเฝ้าระวังสุขภาพอนามัยไปดำเนินการเพื่อควบคุมโรคและการเจ็บป่วยจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

                    3. เพื่อป้องกันและลดการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานกับสารเคมีอันตรายในสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่ทำงานสัมผัสสารเคมีอันตราย

  กลุ่มเป้าหมาย

                    1.สถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการทำงานสูงเกี่ยวกับการทำงานสารเคมีอันตราย ประเภทกลุ่มโลหะหนัก (ตะกั่ว แมงกานีส แคดเมียม โครเมี่ยม) กลุ่มสารประกอบอินทร์ระเหยง่าย(โทลูอีน, ไซลีน , เมทธิล เอทธิล คีโตน )

                    2.สถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีการประสบอันตรายและยังไม่เคยมีการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมจากการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย โดยประสานงานกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและศูนย์ความปลอดภัยแรงงานของแต่ละพื้นที่เพื่อป้องกันการซับซ้อนและเป็นภาระแก่สถานประกอบกิจการจนเกินไป

                    3.สถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่อยู่พื้นที่จังหวัด คือ สมุทรปราการ ชลบุรี สมุทรสาคร

65128_6.jpg (1772×1182)

  65128_9.jpg (700×80)

กรอบแนวคิด   

              1. พัฒนาระบบความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ โดยเน้นสถานประกอบการกลุ่มเสี่ยงและมีการประสบอันตรายสูง

              2. ศึกษาและทบทวนระบบการเฝ้าระวังทางสุขภาพในคนงานที่อาจจะป่วยเป็นโรคจากการทำงานแบบเรื้อรัง

              3. พัฒนาระบบการป้อง การประสบอันตรายจากการทำงานหรือโรคจากการทำงาน ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายของกองทุนเงินทดแทน

วัตถุประสงค์     

              1. เพื่อให้สถานประกอบกิจการตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่จะส่งผลกระทบกับสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่ทำงานสัมผัสเสียงดัง

              2. เพื่อศึกษาการตรวจวัดและวิเคราะห์เสียง แบบ 2 ช่องทาง ทำให้ทราบประสิทธิภาพของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (ที่อุดหู/ที่ครอบหู) และเข้าใจถึงควาสัมพันธ์ประสิทธิภาพของการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน

              3. เพื่อดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก มีการเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและเฝ้าระวังสุขภาพอนามัยไปดำเนินการเพื่อควบคุมโรคและการเจ็บป่วยจากการทำงาน

              4. เพื่อป้องกันและลดการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานสัมผัสเสียงดังในสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก

 กลุ่มเป้าหมาย   

              1. สถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการทำงานสูงเกี่ยวกับการทำงานที่อยู่ในพื้นที่เสียงดัง

              2. สถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กยังไม่เคยมีการตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานมาก่อน โดยประสานงานกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและศูนย์ความปลอดภัยแรงงานของแต่ละพื้นที่

              3. สถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่อยู่พื้นที่จังหวัด คือ สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร