สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชราชูปถัมภ์ฯ นำโดย คุณสุพิชญา สอนสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายสนามฝึกอบรมและพัฒนางานภาคปฏิบัติ ในฐานะผู้จัดการทีม Total Rescue Team นำสมาชิกเข้าร่วมการแข่งขันกู้ภัยด้วยระบบเชือกประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 The 2nd Thailand Rope Rescue Competition 2023 (TRRC 2023) ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2566 ณ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

66111 11

                    สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชราชูปถัมภ์ฯ นำโดย คุณสุพิชญา สอนสิทธิ์ หัวหน้าฝ่ายสนามฝึกอบรมและพัฒนางานภาคปฏิบัติ ในฐานะผู้จัดการทีม Total Rescue Team นำสมาชิกเข้าร่วมการแข่งขันกู้ภัยด้วยระบบเชือกประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 The 2nd Thailand Rope Rescue Competition 2023 (TRRC 2023) ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2566 ณ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
                    โดยมีทีมผู้เข้าแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 5 ทีม ได้แก่
                    1. ANATHA TEAM
                    2. TOTAL RESCUE TEAM
                    3. SOUTHERN ROPE TEAM
                    4. BANGKOK FIRE RESCUE DEPARTMENT
                    5. เทศบาลนครรังสิต

                    ผลตัดสินจากการแข่งขันกู้ภัยด้วยระบบเชือกประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566The 2nd Thailand Rope Rescue Competition 2023 (TRRC 2023) ทีม TOTAL RESCUE TEAM สังกัดสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ไปครองสำหรับการแข่งขันกู้ภัยด้วยระบบเชือกประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 The 2nd Thailand Rope Rescue Competition 2023 (TRRC 2023) เป็นรายการแข่งขันที่เปิดโอกาสให้กับทีมเจ้าหน้าที่ กู้ภัย EMT ERT ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสาธารณกุศลที่มีการทำงานด้วยระบบเชือกได้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากร พร้อมทั้งยกระดับทีมกู้ภัยในประเทศไทย ในการประยุกต์อุปกรณ์และแนวทางการกู้ภัยได้ในหลายรูปแบบให้มีศักยภาพ และมีความปลอดภัยมากขึ้น ฐานการทดสอบที่ถูกกำหนดขึ้นใช้กฎระเบียบการให้คะแนนที่ทีมแข่งขันฯ สามารถนำไปต่อยอดไปสู่การแข่งขันการทีมกู้ภัยด้วยระบบเชือกในระดับสากลได้ โดยกำหนดให้มีการใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ มีระยะทางประมาณ 50 เมตร บนเส้นเชือกที่รับน้ำหนัก 2 เส้น ลำเลียงเปลในแนวนอน แนวตั้ง และระบบ High Line ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องมีมาตรฐานรับรองเท่านั้น ไม่จำกัดอุปกรณ์และแบรนด์ที่ใช้ในการแข่งขัน อีกทั้งยังมียานพาหนะที่สามารถขนส่งทีมและอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันแต่ละฐานการทดสอบ