สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

บริการให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิตในนิคมอุตสาหกรรม

 

logo-green

           บริการให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิตในนิคมอุตสาหกรรม ตามข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559

 

วัตถุประสงค์

         เพื่อเป็นข้อมูล ให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขในการดำเนินการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต” (Process Safety Management : PSM) ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559

 

แนวทางการดำเนินการ

       ให้คำปรึกษา การดำเนินงาน การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management: PSM) รวมถึงให้การอบรมแก่พนักงานภายในองค์กรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management: PSM)

 

การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management: PSM) หมายความว่า การจัดการให้เกิดความปลอดภัย การป้องกันการเกิดอุบัติการณ์และการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตที่มีการใช้สารเคมีอันตรายร้ายแรง โดยใช้มาตรการทางการจัดการและพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมในการชี้บ่ง ประเมิน และควบคุมอันตรายจากกระบวนการผลิต และให้หมายความรวมถึงการจัดเก็บ การออกแบบ การใช้ การผลิต การบํารุงรักษา การตรวจสอบ การทดสอบ และการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายร้ายแรงในเขตนิคมอุตสาหกรรม

 

191ประเภทโรงงานเข้าข่าย

  • กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายร้ายแรงในปริมาณครอบครอง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เท่ากับหรือมากกว่าปริมาณที่กำหนดในบัญชีท้ายข้อบังคับฯ

  • กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับแก๊สไวไฟหรือของเหลวไวไฟ ที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัมหรือ 10,000 ปอนด์ขึ้นไป ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เว้นแต่ แก๊สไวไฟหรือของเหลวไวไฟซึ่งนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น เช่น ใช้สำหรับหม้อน้ำ หรือเติมยานพาหนะ

ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องดำเนินการ

  • ดำเนินการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต

  • ตรวจประเมินภายใน ทุก 1 ปี

  • ตรวจประเมินภายนอก ทุก 3 ปี หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนการผลิต หรือกรณีการขอขยายกำลังการผลิตที่กระบวนการผลิตเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนการผลิต (ไม่ใช่การขยายพื้นที่)