สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

หลักสูตร : “ผู้ตรวจประเมินภายนอกการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต ตามข้อบังคับคณะกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ”

หลักสูตร : “ผู้ตรวจประเมินภายนอกการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต ตามข้อบังคับคณะกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ”

  • หมวดที่ 1 ภาพรวมข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และการจัดการ ความปลอดภัยกระบวนการผลิต
  • หมวดที่ 2 ความรู้และองค์ประกอบการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต
  • หมวดที่ 3 แนวทางการตรวจประเมินภายนอก

บรรยายโดย

วิทยากรที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจประเมินภายนอกกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
โทร : 0 2884 1852 ต่อ 106,108 คุณปรินดา นครไชย

อีเมล : : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ระยะเวลาการอบรม

  • 3 วัน (18 ชั่วโมง) 

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 7,500 บาท

  • 7,000 บาท (สมาชิกสมาคม)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้อการฝึกอบรม

 

หมวดวิชาที่1

ภาพรวมข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559  และการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต

 

1.1

ความเข้าใจในข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบ กิจการใน นิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559

 

1.2

ความสำคัญและความจำเป็นของการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management: PSM) โดยองค์รวม

 

หมวดวิชาที่2

ความรู้และองค์ประกอบการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต

 

2.1

การมีส่วนร่วมของพนักงาน

 

2.2

ข้อมูลความปลอดภัยกระบวนการผลิต

 

2.3

การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต

 

2.4

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

 

2.5

การฝึกอบรม

 

2.6

การจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา

 

2.7

การทบทวนความปลอดภัยก่อนการเริ่มเดินเครื่อง

 

2.8

ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์

 

2.9

การอนุญาตท างานที่อาจทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟ และการอนุญาตทำงานที่ไม่ใช่งานประจำ

 

2.10

การจัดการการเปลี่ยนแปลง

 

2.11

การสอบสวนอุบัติการณ์

 

2.12

การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

 

2.13

การตรวจประเมินภายนอก

 

2.14

ความลับทางการค้า

 

หัวข้อการฝึกอบรม

 

หมวดวิชาที่3

แนวทางการตรวจประเมินภายนอก

 

3.1

กรอบความคิดของผู้ตรวจประเมินภายนอก

 

3.2

คุณสมบัติและคุณลักษณะของผู้ตรวจประเมินภายนอก

 

3.3

จรรยาบรรณของผู้ตรวจประเมินภายนอก

 

3.4

แบบตรวจประเมินของผู้ตรวจประเมินภายนอก

 

3.5

ขั้นตอนการตรวจประเมินภายนอก ได้แก่ การเตรียมการก่อนการตรวจ ประเมินภายนอก วิธีการตรวจประเมินภายนอก การหาหลักฐานจาก 3P (People–Paper–Process or Practice) หลักการเขียนข้อบกพร่อง เป็นต้น

 

3.6

การจัดทำรายงานการตรวจประเมินภายนอกและสรุปผล

 

3.7

การติดตามผลการด าเนินการตรวจประเมินภายนอก

 

 

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

1.ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต

  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี/วิศวกรรมไฟฟ้า/วิศวกรรมเครื่องกล/วิศวกรรมอุตสาหการ หรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี หรือเทียบเท่า ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิตและมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 8 ปี
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอื่น หรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ สาขาอื่น หรือเทียบเท่า ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต และมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10 ปี
  • ปริญญาตรีครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาครุศาสตร์วิศวกรรม หรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีอุตสาหกรรม
    ศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรม หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือเทียบเท่า ซึ่งความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต มีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 12 ปี

2.ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและการบำรุงรักษา

  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี/วิศวกรรมไฟฟ้า/วิศวกรรมเครื่องกล/วิศวกรรมอุตสาหการ หรือเทียบเท่า ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและการบำรุงรักษา และมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 8 ปี
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอื่น หรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ สาขาอื่น หรือเทียบเท่า ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและการบำรุงรักษา และมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10 ปี
  • ปริญญาตรีครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาครุศาสตร์วิศวกรรม หรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีอุตสาหกรรม
    ศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรม หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือเทียบเท่า ซึ่งความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและการบำรุงรักษา มีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 12 ปี

3.ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  • ปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์ หรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 8 ปี
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หรือเทียบเท่า หรือปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ สาขาอื่น หรือเทียบเท่า ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10 ปี

ภาพกิจกรรมอบรม