สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

หลักสูตร : การเป็นวิทยากรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

หลักการและเหตุผล

          การทำงานบนที่สูง หรือการทำงานในบริเวณที่มีความต่างระดับของพื้นที่ที่บุคคลหรือวัสดุมีอาจเกิดการตกจากที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานบำรุงรักษา งานงานในระบบอุตสาหกรรม งานสายส่งไฟฟ้า งานทำความสะอาด บ่อ บันไดขั้น-ลง หลังคา บริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชัน หรือแม้กระทั่งการทำงานในหลุม เป็นต้น งานดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการฝึกฝนในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากในระหว่างที่มีการปฏิบัติงานบนที่สูง

          โดยหลักสูตรการฝึกอบรมนี้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดขั้นพื้นฐานของมาตรฐานสากล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูงในประเทศไทย ซึ่งสามารถทำให้พนักงาน ผู้รับเหมา และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานบนที่สูงได้หันมาให้ความสำคัญ ตระหนักถึงความเสี่ยง อันตราย และมีการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงานบนที่สูง  รวมไปถึงการได้นำความรู้ความเข้าใจทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติมาเป็นแนวทางเพื่อประยุกต์การปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานประกอบการให้เกิดความปลอดภัยต่อไป

วัตถุประสงค์

       1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานบนที่สูง รวมไปถึงความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงประเภทต่าง ๆ

       2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เสริมสร้างทักษะ ความรู้ความสามารถ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงสามารถที่จะต่อยอดเป็นวิทยากรได้ในอนาคต

       3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีแนวทางในการถ่ายทอดความรู้ ด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงในสถานประกอบการของตนเองได้

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม /กลุ่มเป้าหมาย

  • มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง
  • จป หัวหน้างาน จป เทคนิค จป เทคนิคขั้นสูง  จป วิชาชีพ
  • หัวหน้างาน หรือ ผู้ควบคุมงาน
  • บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ

ระยะเวลาการอบรม

  • 6 วัน (36 ชั่วโมง)

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 35,000 บาท

  • 30,000 บาท (สมาชิกสมาคม)

รายละเอียดหลักสูตร

อบรมวันที่ 1:  

  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง
  • แนวทางด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง
  • สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงานบนที่สูง
  • แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง
  • การตรวจสภาพแวดล้อมและบริเวณพื้นที่ในการทำงาน
  • การกำหนดบทบาทหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง
  • ประเภทงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง อาทิเช่น นั่งร้าน รถกระเช้า
  • Work shop การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงการทำงานบนที่สูง
  • Work shop การวางแผนและจัดทำแผนการปฏิบัติงานบนที่สูง
  • Work shop การวางแผนควบคุมและป้องกันอันตรายเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง
  • Work shop การวางแผนและจัดทำแผนช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • Work shop ระบบการขออนุญาตการทำงานบนที่สูง (Permit to working at height)

อบรมวันที่ 2:

  • แนวทางและพื้นฐานสำหรับการทำงานบนที่สูงตามมาตรฐานยุโรป
  • รูปแบบและประเภทของจุดยึดตามมาตรฐาน EN795:2012
  • Workshop การสร้างจุดจับยึด (Anchorage) และเรียนรู้เรื่องอุปกรณ์จุดจับยึดสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ
  • เทคนิคการเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากการตกจากที่สูง (Fall Protection Equipment)
  • ABC: Harness ,Lanyard ,Life line
  • ระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคล (Personal Fall Arrest System)
  • เทคนิคการเลือกใช้อุปกรณ์ยับยั้งเพื่อป้องกันการตก
  • Work shop การคำนวณระยะตก (Fall Clearance Distance)
  • การควบคุมดูแลการใช้อุปกรณ์การทำงานบนที่สูง และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

อบรมวันที่ 3: อุปกรณ์และเครื่องมือเกี่ยวกับการป้องกันการตกจากที่สูง

  • การทดสอบอุปกรณ์ตามมาตรฐาน EN7883:2019
  • การตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำงานบนที่สูง ตามกฎหมาย และตามมาตรฐานสากล
  • การตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้งาน การตรวจสอบเป็นระยะ และการบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
  • ฝึกปฏิบัติ การใช้งานระบบป้องกันและระบบยับยั้งการตก (Fall Arrester)
  • ฝึกปฏิบัติ การใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานบนที่สูง (Working at height equipment)
  • ฝึกปฏิบัติ การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) ที่ใช้ในการทำงานบนที่สูง

 

อบรมวันที่ 4: เทคนิคการทำงานบนที่สูง (Technics for working at heights)

  • ฝึกปฏิบัติ การใช้งานระบบป้องกันและระบบยับยั้งการตก (Fall Arrester)
  • ฝึกปฏิบัติ การใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานบนที่สูง (Working at height equipment)
  • ฝึกปฏิบัติ การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE) ที่ใช้ในการทำงานบนที่สูง
  • ฝึกปฏิบัติ การทำงานบนที่สูงในแนวระนาบ (Horizontal) แนวดิ่ง (Vertical)
  • ฝึกปฏิบัติ การปีนบันไดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บันไดทรงเอ บันไดพาด (Ladder Climbing)
  • ฝึกปฏิบัติ การปีนเสาทาวเวอร์ (Tower Climbing)
  • ฝึกปฏิบัติ การทำงานบนนั่งร้าน (Scaffolding)
  • ฝึกปฏิบัติ การทำงานบนหลังคา (Roof working)
  • ฝึกปฏิบัติ การทำงานบนหลังคารถบรรทุกในคลังสินค้า (Truck and Warehouse)
  • ฝึกปฏิบัติ การทำงานบนที่สูงด้วยอุปกรณ์ขึ้น-ลง (Ascending and Descending)
  • ฝึกปฏิบัติ การใช้งานอุปกรณ์ 3 ขาสำหรับงานที่อับอากาศ (Tripod for Confined space)

อบรมวันที่ 5: หลักการช่วยเหลือและช่วยชีวิต

  • ฝึกปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดการตกจากที่สูง หรือติดค้างอยู่บนโครงสร้าง
  • ฝึกปฏิบัติ การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุเมื่อเกิดการตกจากที่สูง ติดค้างอยู่บนโครงสร้างด้วยวิธีการพื้นฐาน
  • ฝึกปฏิบัติ การใช้อุปกรณ์และการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับอุบัติเหตุจากการตกจากที่สูง
  • ฝึกปฏิบัติ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยเหลือผู้ได้รับอุบัติเหตุจากการตกจากที่สูง
  • ฝึกปฏิบัติ การปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น

อบรมวันที่ 6: การทดสอบและประเมินผล

  • ทดสอบปฏิบัติ ทักษะการพูดและนำเสนอสำหรับการเป็นวิทยากรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง
  • ทดสอบปฏิบัติ รายบุคคลการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานบนที่สูง
  • ทดสอบปฏิบัติ รายบุคคลอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากการตกจากที่สูง
  • ทดสอบปฏิบัติ รายบุคคลการทำงานบนที่สูงในลักษณะต่าง ๆ
  • ประเมินผู้เข้ารับการอบรม (Skill Sheet)
  • สรุปผล ประเมินผลการฝึกอบรม
  • มอบวุฒิบัตร

หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามการฝึกภาคปฏิบัติซึ่งอาจมีการสลับลำดับตามความเหมะสม

ภาพกิจกรรมอบรม