สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

หลักสูตร : การเป็นวิทยากรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

      ด้วยกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2547 หมวด 1 ข้อ 4 กำหนดไว้ว่า “ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ  เว้นแต่นายจ้างได้ดำเนินการให้มีความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้แล้ว  และนายจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตตามข้อ  18  และเป็นผู้ผ่านการอบรมตามข้อ 21  เพื่อสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายกฎหมายบังคับใช้ได้พัฒนาบุคลากรของหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตาม   ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศพ.ศ. 2549หมวด 3 วิทยากรฝึกอบรมข้อ 16 และข้อ 17 ให้มีศักยภาพ สมรรถนะและเทคนิคเพียงพอในการเป็นวิทยากรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศและทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจและมีทักษะเพื่อการเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยากรตามประกาศกรมสวัสดิการฯ นี้ด้วย

 วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการปฏิบัติงานที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  • เพื่อเสริมทักษะและเทคนิคให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ ความเข้าใจ ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

  • ผู้ที่มีคุณสมบัติตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศพ.ศ. 2549หมวด 3 วิทยากรฝึกอบรมข้อ 16 และข้อ 17
  • ผู้ที่สนใจและเตรียมความพร้อมตนเองในด้านเทคนิคและทักษะเพื่อการเป็นวิทยากรตามข้อ 1 (ปัจจุบันยังขาดคุณสมบัติการเป็นวิทยากรแต่เตรียมความพร้อมให้กับตนเองก่อนที่จะมีคุณสมบัติครบตามข้อ 1)

ระยะเวลาการอบรม

  • 10 วัน

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 35,000 บาท

  • 30,000 บาท (สมาชิกสมาคม)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร

ทีมวิทยากร

  • รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ ที่ปรึกษาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ประธานหลักสูตรปริญญาโท-เอก หลักสูตรนานาชาติ สาขาอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นายสวินทร์ พงษ์เก่า ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ดร.วันเพ็ญ พงษ์เก่า นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ดร.ศิริลักษณ์ จิตต์ระเบียบ และทีมวิทยากรปฐมพยาบาล
  • นายจำรัส มวลชัยภูมิ วิทยากรความปลอดภัยในที่อับอากาศและการดับเพลิงขั้นต้น/ ขั้นรุนแรง
  • ทีมวิทยากรจากสำนักบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร

สถานที่อบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

  • ณ ศูนย์ฝึกอบรมสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย)  เลขที่ 36/2-4 ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170

เนื้อหาหลักสูตร

ภาคทฤษฎี

วันที่  1

รศ.ดร.เฉลิมชัย   ชัยกิตติภรณ์

  • กฎหมายและการปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
  • ความหมาย ชนิด ประเภท ของที่อับอากาศ
  • แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยในที่อับอากาศ
  • บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและลูกจ้างที่เข้าทำงานในที่อับอากาศ
  • อุบัติเหตุและอันตรายจากที่อับอากาศ

วันที่  2

นายสวินทร์  พงษ์เก่า

  • อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่ใช้ในที่อับอากาศ
  • เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ
  • การประเมินสภาพงานและการวางแผนควบคุมอันตรายในที่อับอากาศ

วันที่  3

นายสวินทร์  พงษ์เก่า

  • ระบบการขออนุญาตทำงานและวิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  • หลักการตัดแยกระบบ ระบบล็อคและป้ายทะเบียน
  • เทคนิคการระบายอากาศ

วันที่ 4

ดร.ศิริลักษณ์  จิตต์ระเบียบ และทีม

  • การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น
  • หลักการช่วยเหลือและช่วยชีวิต
  • อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย

วันที่  5

ดร.วันเพ็ญ  พงษ์เก่า

  • เทคนิคการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่  6

ทีมวิทยากรบรรเทาสาธารณภัย กทม.

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการกู้ภัยสำหรับที่อับอากาศ
  • หลักการดับเพลิงขั้นต้น

 

ภาคปฏิบัติ

วันที่ 7

นายจำรัส  มวลชัยภูมิ และทีมงาน

  • ฝึกปฏิบัติ การใช้เครื่องมือในการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในที่อับอากาศ
  • ฝึกปฏิบัติ การประเมินสภาพงานและการวางแผนควบคุมอันตรายในที่อับอากาศ
  • ฝึกปฏิบัติ การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างถูกต้อง

วันที่  8

นายจำรัส  มวลชัยภูมิ และทีมงาน

  • ฝึกปฏิบัติ วิธีการตัดแยกระบบ การระบายอากาศและการเข้าปฏิบัติงาน
  • ฝึกปฏิบัติ การกำหนดบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ฝึกปฏิบัติ การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น
  • ฝึกปฏิบัติ การดับเพลิงขั้นต้น

วันที่ 9

นายจำรัส  มวลชัยภูมิ และทีมงาน

  • ฝึกปฏิบัติ การช่วยเหลือ ช่วยชีวิตและหลีกหนีภัยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • ฝึกปฏิบัติการใช้ SCBA Air Line และ Tripod ในการกู้ภัยสำหรับที่อับอากาศ
  • ฝึกปฏิบัติการใช้เชือกในการกู้ภัยสำหรับที่อับอากาศ
  • ฝึกปฏิบัติการใช้รอกและการผูกเชือกในการกู้ภัยสำหรับที่อับอากาศ
  • จำลองสถานการณ์วิธีการสอนผู้เข้ารับการอบรมภาคปฏิบัติ

วันที่ 10

นายจำรัส  มวลชัยภูมิ และทีมงาน

  •  ฝึกการนำเสนอเพื่อพัฒนาทักษะและเรียนรู้เทคนิคการเป็นวิทยากรหลักสูตรการทำงานในที่อับอากาศ (ผู้อบรมเตรียม ppt มานำเสนอ)

ภาพกิจกรรมอบรม