สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

หลักสูตร : การเป็นวิทยากรปั้นจั่น

       หลักสูตร “การเป็นวิทยากรปั้นจั่น” ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่นผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ.2554


       กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่นผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ.2554 และในการจัดอบรมหลักสูตรดังกล่าววิทยากรจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

ข้อ 17 วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมเครื่องกลหรือเทียบเท่า 
    และมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 1 ปี
  2. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์หรือเทียบเท่าหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างไฟฟ้าหรือเทียบเท่า หรือเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 3 ปี
  3. ช่างชำนาญการ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นและหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 5 ปี
  4. เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 1 ปี

           ด้วยสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย) ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของสถานประกอบกิจการที่จะต้องจัดให้มีการฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าวตามที่กฎหมายกำหนดไว้จึงได้พัฒนาหลักสูตรเพี่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณสมบัติการเป็นวิทยากรตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อผู้ที่มีคุณสมบัติการเป็นวิทยากรดังกล่าวได้เรียนรู้อย่างเป็นระบบและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เข้ารับการอบรมในสถานประกอบกิจการของตนเองได้อย่างมีคุณภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์จากการเรียนรู้อย่างแท้จริง

รายละเอียดอื่นๆ

  • การฝึกปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นใน สปก. 18 ชม.
  • ผู้เข้าอบรมจะต้องมีเวลาเรียนเต็มเวลา (จำนวน 48 ชั่วโมง ) จึงจะได้รับวุฒิบัติ
  • วุฒิบัตรระบุจำนวน  48  ชั่วโมงในการเรียนภาคทฤษีและปฏิบัติ ระบุจำนวน 18 ชั่วโมงในการจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับปั้นจั่นในหน่วยงานของตนเอง

การแต่งกายผู้เข้าอบรม

  • แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้  (ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี)

เอกสารสำหรับสมัครเข้ารับการอบรม (ส่งในวันอบรมวันแรก) 

  1. สำเนาบัตรประจาตัวประชาชน 
  2. วุฒิการศึกษา
  3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป 
  4. เอกสารรับรองจากนายจ้างหรือเอกสารอื่นๆ ที่แสดงว่ามีคุณสมบัติตามข้อที่ 17 (1) (2) (3) (4) ข้อใดข้อหนึ่ง

ระยะเวลาการอบรม

  • 48 ชั่วโมง (8 วัน)

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 20,000 บาท

  • 18,000 บาท (สมาชิกสมาคม)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร

รอบที่  1

วันที่ 1

08.30 – 12.00 น.   

• กรณีศึกษาอุบัติเหตุเกี่ยวกับปั้นจั่นและอุปกรณ์การยก 
• กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒
• ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่นผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่นและการอบรมทบทวน
การทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554
• ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับปั้นจั่น 

13.00-16.30 น. 
• บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่นผู้บังคับปั้นจั่น 
• ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น 
• ผู้ยึดเกาะวัสดุ 

วันที่ 2

08.30 – 16.30 น.
• ความรู้เกี่ยวกับปั้นจั่นประเภทต่างๆ 
• การตรวจสอบ การทดสอบปั้นจั่น การใช้แบบ ปจ. 1 และ ปจ.2 
• การใช้แบบตรวจก่อนเริ่มงาน 
• ความรู้เกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่และอุปกรณ์การยก

วันที่ 3

08.30 – 16.30 น.
• การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
• การอ่านค่าตารางพิกัดยกของปั้นจั่น (Load chart) 
• การจัดทาแผนงานยกเคลื่อนย้ายวัสดุ 
• ฝึกปฏิบัติการทำแผนงานยก (Lifting Plan) 

วันที่ 4

08.30 – 16.30 น
• ระบบไฟฟ้า
• ระบบสัญญาณเตือน
• ระบบเครื่องยนต์ดีเซล
• ระบบไฮดรอลิก

วันที่ 5

08.30– 16.30 น.  
• ตรวจสอบ และการทดสอบอุปกรณ์การยก และการใช้งาน การผูกรัดวัสดุ
• ความปลอดภัยในการยกวัสดุ เคลื่อนย้ายในการวางวัสดุ
15.00-17.00 น  
• work shop การตรวจสอบอุปกรณ์การยก

รอบที่  2

วันที่ 6

07.30-08.30 น.          เดินทางไปฝึกปฏิบัติ

08.30-12.00 น.          ฝึกปฏิบัติการใช้งานปั้นจั่นชนิดติดตั้งอยู่กับที่

12.00-13.00 น.          พักทานอาหาร

13.00-16.00 น.          ฝึกปฏิบัติการใช้งานปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่
วันที่ 7

08.30 - 12.00 น.

  • เทคนิคการสอนหลักสูตรปั้นจั่น
  • การเตรียมสื่อการบรรยาย
  • การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ สนามปฎิบัติ ปั้นจั่น และอื่น ๆ
  • เทคนิคการนำเสนอโดยใช้สไลด์ที่กำหนดไว้ตามเนื้อหาของหลักสูตรตามกฎหมาย
  • เทคนิคการสอนภาคปฎิบัติ การฝึกปฎิบัติและการสอบภาคปฎิบัติ

13.00 - 16.30 น.

  • การฝึกปฎิบัติการสอนหลักสูตรปั้นจั่นตามสื่อการสอนที่กำหนดไว้  (วิทยากรให้คำแนะนำวิธีการเสนอ การใช้สื่อบรรยาย เนื้อหาประเด็นสำคัญที่ต้องนำเสนอแต่ละสไลด์)
วันที่ 8

08.30 – 15.00 น.

  • การฝึกปฎิบัติการสอนหลักสูตรปั้นจั่นตามสื่อการสอนที่กำหนดไว้ (วิทยากรให้คำแนะนำวิธีการเสนอ การใช้สื่อบรรยาย เนื้อหาประเด็นสำคัญที่ต้องนำเสนอแต่ละสไลด์)

15.00 - 17.00 น.               

  • มอบวุฒิบัตร
  • เวลาพัก 10.15-10.30 และ 14.30-14.45 น. 12.00-13.00 น.พักทานอาหารกลางวัน

ภาพกิจกรรมอบรม