สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

ข้อพิจารณาในการเลือกระบบลิฟท์อาจจะพิจารณาแยกออกเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ

  1. ระยะเวลาในการรอลิฟท์เมื่อกดเรียก (บางตึกคำนวณผิดพลาด อาจต้องรอตั้ง 20 นาที กว่าจะได้ เข้าลิฟท์)
  2. อัตราความรวดเร็วของการลำเลียงขนส่งคนออกจากอาคาร ในกรณีที่ต้องการความเร่งด่วน 


       ข้อพิจารณาทั้ง 2 ข้อจะเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นของการเลือกระบบลิฟท์ ซึ่งการที่จะได้คำตอบนั้นต้อง …. ปรึกษา บริษัทลิฟท์ หรือวิศวกรเครื่องกล ที่มีความชำนาญ… เท่านั้น เพื่อความสุขของท่าน และผู้ใช้อาคาร การเลือกระบบลิฟท์ ไม่น่าจะเลือกโดยการเดาสุ่ม เพราะอาจเกิดปัญหาใหญ่หลวงได้ภายหลัง มีอาคารบางอาคาร ที่ออกแบบให้ชั้นบนสุด ของอาคารเป็น สำนักงาน หรือที่พักอาศัย แล้วเปลี่ยนแปลง การใช้อาคารภายหลัง ให้ชั้นบนสุดกลายเป็น ภัตตาคาร หรือกิจกรรมอื่นใด ที่มีคนไปใช้มาก (Public Function) แล้วไม่มี การเปลี่ยนแปลง (เพิ่มเติม) ระบบลิฟท์อาจทำให้ ระบบการขนส่งทางตั้งของอาคารนั้น ล้มเหลวทั้งหมด เพราะในการออกแบบคำนวณ จำนวน-ขนาด-ความเร็ว ของลิฟท์แต่ต้นคำนวณว่า การใช้ลิฟท์ เมื่ออาคารชั้นสูงขึ้นไป ๆ จะมีคนใช้น้อยลง ๆ พอเปลี่ยนเป็นที่ยอดอาคารมีคนใช้มากมาย ก็เกิดอาการ "หัวโตขาลีบ" ระบบลิฟท์ ก็จะล้มเหลว

อย่าลืมอะไรในบ่อลิฟท์ ?

       บ่อลิฟท์ คือหลุมที่อยู่ล่างสุดของปล่องลิฟท์ ซึ่งมืดมิดสนิทแน่ ปัญหาที่มักพบเจอก็คือ เวลาจะซ่อมแซม หรือบำรุงรักษาลิฟท์ ไม่มีแสงสว่างเพียงพอ การต่อสายไฟ จากส่วนอื่นก็ทำให้ การใช้อาคารวุ่นวาย การใช้ไฟฉายก็ ไม่สะดวก และไม่สว่างเพียงพอ ดังนั้น… อย่าลืมปลั๊ก (outlet) ไว้สักจุดในบ่อลิฟท์ นะครับ

 

ห้องเครื่องลิฟท์สูงไม่พอจะทำอย่างไร ?

       ลิฟท์โดยทั่วไป ด้านล่างจะเป็นบ่อลิฟท์ และด้านบนจะเป็นห้องเครื่องลิฟท์ สูงประมาณ 3 เมตร ซึ่งบางครั้ง เป็นตัวปัญหา ของอาคาร ที่ถูกจำกัดความสูง… หากท่านเกิดปัญหานั้น ลองใช้ลิฟท์ระบบ "ไฮดรอลิค" ดู อาจจะช่วย ท่านได้บ้าง เพราะลิฟท์ระบบนี้ จะใช้ไฮดรอลิค ดันจากข้างล่าง ขึ้นไป เหมือนแม่แรงยกรถ แต่ก็มีข้อเสียคือ ราคาจะแพง และขึ้นได้ไม่สูงนัก …. รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้ที่บริษัทลิฟท์ทั่วไป

 

อย่าลืมอะไรในห้องเครื่องลิฟท์ ?

       คำว่า ห้องเครื่อง ก็บอกอยู่แล้วว่าจะต้องมี "เครื่องยนต์" ซึ่งเมื่อมีเครื่องยนต์ ก็จะต้องมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อมีความร้อนเกิดขึ้น หากไม่มีการถ่ายเทความร้อน หรือมีเครื่องทำความเย็น เครื่องยนต์ก็จะเสีย และเมื่อเครื่องยนต์เสีย ระบบลิฟท์ของอาคาร ก็จะไม่ทำงาน ดังนั้น…. ในห้องเครื่องลิฟท์ อย่าลืมว่า ต้องมีอากาศถ่ายเทเป็นอย่างดี หากไม่เช่นนั้นก็ต้องมี เครื่องปรับอากาศ เตรียมเอาไว้ด้วย

 

เชื่อหรือไม่ตึกสูงหลายตึก ล่าช้าเพราะว่างานลิฟท์ไม่ทันเวลา

      แม้ว่าตึกโดยทั่วไปการวางแผนงานก่อสร้างอาคารสูง จะถูกกำหนดออกเป็นสามขั้นตอน คือในขั้นตอนแรก ควบคุม โดยจำนวนคอนกรีต ขั้นตอนที่สอง ควบคุมโดยจำนวนพื้นที่ผนัง และขั้นตอนสุดท้าย ควบคุมโดยการ ตกแต่งพื้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่คุณอาจจะมองข้ามไปและอาจทำให้งานก่อสร้าง อาคารสูง ของคุณนั้น ล่าช้าออกไป จนอาจไม่สามารถทำงานตกแต่งพื้นให้ทันเวลาขั้นสุดท้ายได้ … สิ่งนั้นก็คือ "ลิฟท์" เพราะลิฟท์จะเริ่มทำงานได้ต่อเมื่อ งานโครงสร้างก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยจนถึงหลังคา- ห้องเครื่องลิฟท์ หลังจากนั้น จะใช้เวลาอีก 5-6 เดือนงานลิฟท์จึงจะเสร็จเรียบร้อย ช่วงต่อที่มีความสำคัญมากที่สุดก็คือ เมื่อทำโครงสร้าง ถึงยอดแล้ว ผู้รับเหมา มักจะรอสัก 2-3 เดือน ก็จะต้องเอา Tower Crane ออก เพื่อทำการ ตกแต่ง ผนังภายนอก และทำความสะอาดขั้นสุดท้าย ซึ่งมีเวลาห่างกันระหว่างเอา Tower Crane ออกแล้ว กับระยะเวลา ที่ลิฟท์ยังทำงานไม่ได้ การขนส่งทางตั้ง ของคน และวัสดุก่อสร้าง จะมีปัญหา (ลิฟท์ชั่วคราว สำหรับการก่อสร้าง ก็ต้องเอาออก เพราะต้องมีการตกแต่ง ผนังภายนอกเช่นเดียวกัน) 

      อาคารบางอาคารอาจจะไม่มีปัญหานี้ เพราะการตกแต่งผนังและพื้นจะดำเนินการไปพร้อม ๆ กับงานโครงสร้าง แต่ปัญหาเรื่องลิฟท์ ก็ยังคงเกิดขึ้นอีก เพราะอาคารสูง ที่มีลิฟท์จำนวนมาก ต้องมีการปรับแต่งระบบเครื่องกล ของลิฟท์ ให้ลิฟท์ทุกตัว วิ่งเป็นระบบซึ่งกันและกัน (ภาษาช่างเขาเรียกว่า Syncronize) การปรับแต่งนี้ จะใช้กระแสไฟฟ้า จำนวนมาก ซึ่งโดยทั่วไป ไฟฟ้าชั่วคราว ที่ขอการไฟฟ้า มาเพื่อทำการก่อสร้าง จะไม่เพียงพอ ทำให้การปรับแต่งลิฟท์ ดังกล่าว ไม่สามารถจะทำได้ จนกว่าอาคารทั้งหมดจ ะเสร็จสิ้น การไฟฟ้าจึงมาติดตั้ง ระบบไฟฟ้าถาวรให้ และลิฟท์ก็จะต้องรอ ต้องรอ และต้องรอ 
จึงขอเรียนมายังผู้ที่มีวงจรชีวิตเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง หรือบริหารการก่อสร้างอาคารสูงทั้งหลายว่า เมื่อวางแผนอะไร เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมนับถอยหลังในส่วนงานลิฟท์เอาไว้บ้าง น่าจะดีครับ

 

ไม่จำเป็นนักหนา อย่าให้ลิฟท์ต้องลงไปจอดถึงชั้นใต้ดินเลย

     ตามที่เคยคุยกันมาแล้วว่า งานก่อสร้างที่มีราคาแพงที่สุดก็คืองานในส่วนใต้ดิน  เพราะต้องใช้วิทยาการ ไปต่อสู้กับธรรมชาติ มากที่สุด ต้องมีการขุดดินออก ต้องมีระบบ ป้องกัน ดินพัง ที่ยอดเยี่ยม ไม่เช่นนั้น โครงการก่อสร้างของท่าน อาจจะต้องล้มเหลว ตั้งแต่ยังไม่มี ส่วนของอาคาร ส่วนใด ส่วนหนึ่ง โผล่พ้นดินขึ้นมาเลย แต่ที่บอกว่าไม่น่าจะใช้ลิฟท์จอดชั้นใต้ดิน ไม่ใช่กลัวเวลาน้ำท่วม น้ำจะไหลท่วม เข้าบ่อลิฟท์ หรอกครับ แต่ก็เพราะว่า ลิฟท์ทุกตัว ทุกระบบ ทุกยี่ห้อ จะต้องมีบ่อลิฟท์อยู่ข้างใต้ ของพื้น ที่ลิฟท์จอดชั้นสุดท้าย (ความลึกเปลี่ยนไปตาม ความเร็วของลิฟท์ เฉลี่ยลึกตั้งแต่ 1.50-2.50 เมตร) เมื่อจำเป็นต้องมีบ่อลิฟท์ ดังกล่าว และบ่อลิฟท์จะอยู่ด้วยตนเองไม่ได้ ต้องวางอยู่บนฐานราก (ซึ่งมักจะเป็น ฐานรากตัวที่โตที่สุด ในอาคารด้วย) ทำให้ฐานรากนั้น ต้องอยู่ลึกลงกว่าฐานรากทั่วไป ของอาคาร เท่ากับ ความลึก ของบ่อลิฟท์ แล้วการขุดดินที่มากขึ้น การป้องกันดินพัง ก็ลำบากยากเย็นขึ้นอีก …. แพงและเสียเวลา 
สรุปก็คือ หากอาคารท่านมีห้องใต้ดิน ลิฟท์ไม่น่าจะถูกออกแบบให้ไปจอด ณ ชั้นล่างสุดของห้องใต้ดิน แต่น่าจะจอด จุดสุดท้าย ณ ชั้นก่อนล่างสุดครับ

หากอาคารสำนักงานของคุณมีลิฟท์ไม่พอใช้ (รอนาน) จะแก้ไขอย่างไร

       หากใครเดินท่องเที่ยวอยู่ตามอาคารสำนักงานหลายแห่ง อาจสังเกตเห็น (ด้วยความเบื่อหน่าย) ได้ว่า อาคาร บางอาคาร คุณอาจต้องรอลิฟท์มาจอดรับคุณตั้ง 10-15 นาที ซึ่งเป็นความเหลือทนมากทีเดียว …. หากคุณอยากจะแก้ปัญหาเหล่านี้ ลองแก้แบบนี้ดูครับ 

  • เพิ่มจำนวนลิฟท์ (คงจะเป็นไปได้ยาก เพราะอาคารสำนักงาน มักเป็นอาคารสูง ที่การเพิ่มจำนวนลิฟท์ ทำไม่ได้ เนื่องจากความจำกัด ของระบบโครงสร้าง) 
  • ด่าเจ้าของอาคารหรือผู้ออกแบบ (ก็คงเพื่อความสบายใจเท่านั้น แก้ปัญหาอะไรไม่ได้หรอกครับ นอกจากเป็นความสบายใจ ที่ได้ระบายออก) 
  • มีเคาน์เตอร์สำหรับปรับเอกสารที่โถงข้างล่าง (ข้อนี้รู้สึกว่าจะเริ่มเข้าท่าเข้าที เพราะจากการสำรวจพบว่า ลิฟท์อาคารหลายแห่ง ถูกใช้เพราะพนักงานส่งเอกสาร มากเกินจำเป็น หากท่านมีเคาน์เตอร์ สำหรับเอกสาร จำนวนพนักงานส่งเอกสาร ก็ใช้ลิฟท์น้อยลง ลิฟท์ก็จะพอเหลือให้คุณใช้บ้าง) 
  • มีลิฟท์เฉพาะสำหรับการขนส่ง เช่น น้ำดื่ม ต้นไม้ หรือจำกัดเวลา เพราะการขนของเหล่านี้ จะเสียเวลา ในการหยุดรอ การขนถ่ายของเข้าออก มาก (อาจใช้ลิฟท์ตัวนี้ สำหรับ พนักงานส่งเอกสารด้วยเลย ก็ได้ เช่น มีลิฟท์ 5 ตัว ก็จะใช้เพียง 1 ตัวสำหรับการขนของ และการส่งเอกสาร ส่วนอีก 4 ตัว เอาไว้ใช้งาน ทั่วไป) 
  • หากมีที่จอดรถหลายชั้น และใช้ลิฟท์ร่วมกันกับตัว Tower ก็อาจต้องให้ลิฟท์บางตัว ไม่จอด ที่ชั้นจอดรถ เหล่านั้น เพราะการที่ลิฟท์เดินทางช้า ก็เพราะการหยุดจอดมากจุดเกินไป หากกำหนดจุด ที่ลิฟท์จอด น้อย ๆ และแต่ละครั้งที่ จอดให้มีคนเข้าไปมาก ๆ ลิฟท์จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
  • ลองแบ่งลิฟท์ออกเป็น 2 ชุด (สมมุติมีลิฟท์ 6 ตัว ก็แบ่งเป็นชุดละ 3 ตัว) และให้สลับชุดจอด คนละชั้น (จอดชั้นคู่กับชั้นคี่เป็นต้น) เพื่อให้ลิฟท์แต่ละชุด มีจุดจอดน้อยลง เสริมประสิทธิภาพของลิฟท์ ให้มากขึ้น 
  • มีพนักงานประจำลิฟท์ เพื่อควบคุมไม่ให้มีการกดเล่น ควบคุมการทำงานและเดินทางของลิฟท์ มีประโยชน์สูงสุด