สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

บริการตรวจระบบไฟฟ้าในโรงงาน

 

logo OSH&E

 

 

199 2

 

 

บุญถิ่น  เอมย่านยาว

ผู้อำนวยการกองมาตรฐานความปลอดภัย  การไฟฟ้านครหลวง

 

  

          การตรวจระบบไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความปลอดภัยในโรงงานซึ่งการตรวจระบบไฟฟ้านั้นเป็นหน้าที่ของวิศวกรไฟฟ้า ช่างเทคนิคไฟฟ้า หรือ เจ้าหน้าที่ของฝ่ายวิศวกรรม ซึ่งจะเป็นไปตามกฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรม ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 และตามกฎหมายของกระทรวงแรงงาน ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558โดยทั่วไปแล้วงานตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าเป็นหัวใจสำคัญของระบบการผลิต เพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ยาวนาน และมีความเชื่อถือได้ งานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่ดีคือการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน สิ่งสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคือการตรวจสอบสภาพเพื่อให้ทราบว่าระบบหรืออุปกรณ์มีร่องรอยการเสื่อมสภาพหรือไม่ มีสภาพที่ต้องการการบำรุงรักษาหรือไม่ ในการตรวจสอบสามารถทำได้ 2 แบบ คือการตรวจสอบด้วยสายตา (Visual Inspection) และการตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด ซึ่งต้องการความรู้ในการใช้เครื่องมือวัดและการวิเคราะห์ด้วย

 

ในการตรวจสอบทั้งด้วยสายตาและด้วยการใช้เครื่องมือวัด สามารถแบ่งการตรวจสอบออกเป็น 2 ส่วนคือ การตรวจสอบทั่วไป และการตรวจสอบตัวอุปกรณ์แต่ละรายการ

 

1.199 1 การตรวจสอบทั่วไป

        การตรวจสอบในขั้นตอนนี้  เป็นการตรวจสภาพทั่วไปของระบบไฟฟ้าทั่วไป เป็นการตรวจอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจสอบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกันเป็นอย่างดี การสัมผัสส่วนใด ๆ ต้องมั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้า หรือมีการป้องกันอย่างเหมาะสมแล้ว การตรวจทั่วไปมีดังนี้

1) สายไฟฟ้า

2) เซอร์กิตเบรกเกอร์

3) ขั้วต่อหรือจุดต่อสาย

4) การระบายอากาศในห้องไฟฟ้า

5) การระบายอากาศและท่อไอเสียสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

6)  แบตเตอรี่ 

 

2. การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า

       เป็นการตรวจสอบที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อหาจุดบกพร่อง การเสื่อมสภาพ ความผิดปกติ และอื่น ๆ การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ทำการบันทึกค่า ผลการตรวจ และทำการวิเคราะห์ผลที่ได้เพื่อหาทางแก้ไข ข้อสำคัญคือ บางรายการต้องตรวจขณะที่จ่ายไฟฟ้า บางรายการต้องดับไฟก่อนจึงจะตรวจได้เนื่องจากมีอันตราย ผู้ที่จะทำการตรวจสอบต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ด้วย

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรได้รับการตรวจสอบมีหลายรายการดังนี้

 

2.1  หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

การตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้

2.1.1  ตัวถังหม้อแปลง

2.1.2  การต่อลงดินของส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่ง

2.1.3  สารดูดความชื้น

2.1.4 ป้ายเตือนอันตราย

2.1.5  พื้นลานหม้อแปลง

 

ภาพ ลานหม้อแปลงมีการโรยหิน มีรั้วกั้นบริเวณอันตราย มีป้ายเตือน

199-3.jpg2.1.6  เสาหม้อแปลง

2.1.7  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง

2.1.8   ตรวจสภาพหม้อแปลงและการติดตั้งอื่น 

 

2.2  ตู้เมนสวิตช์

การตรวจสอบตู้เมนสวิตช์หรือตู้สวิตช์ประธาน ประกอบด้วยการตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้

2.2.1 สภาพของระบบสายดินและการต่อหลักดิน

2.2.2  บริเวณโดยรอบตู้และตัวตู้ ตู้เมนสวิตช์ต้องมีพื้นที่ว่างให้สามารถปฏิบัติงานได้สะดวก การตรวจพื้นที่โดยรอบและสภาพทั่วไป ควรตรวจสิ่งต่อไปนี้

1)   พื้นที่ว่าง

2)   เส้นทางที่จะเข้าไปยังพื้นที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน

3)   ตรวจจสอบว่ามีการวางวัสดุที่ติดไฟได้ติดกับตู้เมนสวิตช์

4)   ฝุ่น หยากไย่ โดยรอบตู้และภายในตู้

 199 4

< ภาพ กองวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ วางกีดขวางหน้าตู้เมนสวิตช์

2.2.3  ความผิดปกติทางกายภาพ

2.2.4  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง

2.2.5  การตรวจอื่น ๆ อาจมีการตรวจสอบอย่างอื่นเพิ่มเติมอีก เช่น ตรวจสอบการทำงานของเครื่องวัดที่หน้าแผง หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น

 

2.3    แผงย่อย

การตรวจสภาพแผงย่อย (panel board) เป็นการตรวจสอบทั้งบริเวณการติดตั้งในพื้นที่ทั่วไป และพื้นที่ที่มีสารไวไฟ สำหรับพื้นที่ที่มีสารไวไฟให้ระบุประเภทและแบบของบริเวณนั้นด้วย

2.3.1  ระบบต่อลงดิน  

  

 199 5

ภาพ แผงเมนสวิตช์เปิดฝาทิ้งไว้ และไม่มีระบบสายดิน >

 

199 6   

< ภาพที่ 62 การเดินสายที่แผงควบคุมไม่เหมาะสม (ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันสายไฟฟฟ้า)

2.3.2  บริเวณโดยรอบ

2.3.3  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง

2.3.4  การตรวจอื่น ๆ ตรวจสอบเช่นเดียวกับตู้เมนสวิตช์

 

2.4    สภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

      การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ อาจตรวจสอบเฉพาะในพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่จัดเก็บวัสดุที่ติดไฟได้ง่ายเท่านั้น ในการตรวจสอบให้ระบุชนิดของอุปกรณ์ด้วยว่าเป็นอุปกรณ์ชนิดใด เหมาะสมกับที่ใช้ในบริเวณ (พื้นที่) อันตรายหรือไม่

2.4.1  พื้นที่ติดตั้ง

2.4.2  สภาพของอุปกรณ์และการต่อสายไฟฟ้า

2.4.3  บริเวณโดยรอบอุปกรณ์

2.4.4  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง

2.4.5  การตรวจอื่น ๆ เป็นการตรวจสอบสภาพทั่วไปอื่น ๆ ที่สามารถพบได้จากการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น การป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า และการต่อลงดิน เป็นต้น

 

2.5    โคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

การตรวจสอบโคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เป็นการตรวจสอบรายการต่อไปนี้

2.5.1  การติดตั้งและโครงสร้างของโคมไฟ

2.5.2  หลอดไฟและขั้วหลอด

2.5.3  สายป้อน สายวงจรย่อย และสวิตช์ตัดตอนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

2.5.4  การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อม

2.5.5  การตรวจอื่น ๆ

 

3. ความถี่ในการตรวจสอบและบำรุงรักษา

ความถี่ในการตรวจสอบ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมและการใช้งาน โดยปกติจะดำเนินการปีละ 1 ครั้ง การที่จะทำการตรวจสอบถี่ขึ้นหรือไม่นั้น ให้พิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ประกอบด้วย

  • การกัดกร่อนของบรรยากาศ
  • สิ่งสกปรกและฝุ่นละออง
  • ณหภูมิโดยรอบและความชื้น
  • ความถี่ในการทำงาน
  • ความถี่ในการตัดกระแสลัดวงจร (กรณีเซอร์กิตเบรกเกอร์)

 

บรรณานุกรม

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีความปลอดภัย หน่วยที่ 4  ความปลอดภัยในการทำงานกับไฟฟ้า พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552

โครงการจัดทำคู่มือกำกับดูแลสถานประกอบการ คู่มือหลักสูตรการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ  2551

แบบบันทึกข้อมูลด้านความปลอดภัยระบบไฟฟ้าในโรงงาน ท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2551 กระทรวงอุตสาหกรรม

ลือชัย  ทองนิล  การตรวจความปลอดภัยระบบไฟฟ้า พิมพ์ครั้งที่ 6 สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย ญี่ปุ่น)  กรุงเทพฯ  2550