สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

หลักสูตร : ผู้สอนความปลอดภัยฯ เกี่ยวกับไฟฟ้าตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ชื่อหลักสูตร

       หลักสูตร “ผู้สอนความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า” 

หลักการและเหตุผล

        กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 หมวด 1 ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด   ซึ่งประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสำหรับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ได้กำหนดให้นายจ้างต้องดำเนินการจัดฝึกอบรมให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเข้ารับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยให้นายจ้างต้องจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรมพร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ตลอดเวลา และให้แจ้งทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรมพร้อมรายชื่อวิทยากรต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม

        โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้นายจ้างเป็นผู้ดำเนินการจัดอบรมด้วยตนเอง แต่ถ้านายจ้างไม่สามารถดำเนินการจัดได้ให้ผู้ที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นสมาคมฯ จึงได้ตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าวเพื่อต้องการผลิตบุคลากรของสถานประกอบกิจการที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายให้มีทักษะเพียงพอในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เข้ารับการอบรม จึงได้เปิดอบรมหลักสูตร “Train  the  Trainer  for  Electrical  Pratitioners” ดังกล่าวขึ้น

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมซึ่งมีคุณสมบัติการเป็นวิทยากรตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีทักษะในการถ่ายทอดความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และได้ฝึกปฏิบัติในการช่วยเหลือชีวิตผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าได้และนำไปถ่ายทอดให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม/กลุ่มเป้าหมาย

 1. ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย ข้อหนึ่งข้อใดตามประกาศ

   ต้องมีคุณสมบัติตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการ ฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หมวด 3 วิทยากรฝึกอบรม ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า หรือเทียบเท่าและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร รวมทั้งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และมีประสบการณ์เป็น วิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือ
  • มีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาอุตสาหกรรมสาขาไฟฟ้าหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าไม่น้อยกว่าสามปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าสามปีหรือ
  • เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ รวมทั้งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าไม่น้อยกว่าสามปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องอย่าง ต่อเนื่องไม่น้อยกว่าสามปี หรือ
  • เป็นลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าในสถานประกอบกิจการ รวมทั้งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าไม่น้อยกว่าห้าปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าห้าปี หรือ

ระยะเวลาการอบรม

  • 3 วัน (18 ชั่วโมง)

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 5,500

  • 5,000 (สมาชิกสมาคม)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร

วิทยากร

  • นายธีรเทพ พราหมณ์มณี  
    (วศบ. ไฟฟ้ากำลัง สถาบันเทคโนโลยี่พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
    ผู้ควบคุมงานติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ
    ผู้ออกแบบและควบคุมงานติดตั้งระบบไฟฟ้า
    วิทยากรผู้ตรวบสอบระบบไฟฟ้าอิสระ
    วิทยากรหลักสูตรความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
  • ดร.ศิริลักษณ์ จิตต์ระเบียบ และทีมงาน
    วิทยาศาสตร์บัณฑิต (การพยาบาลและสุขศึกษา)
    วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์)
    ดุษฎีบัณฑิต/ปรัชญา (สาขาสังคมวิทยา)
    หัวหน้าฝ่ายพัฒนาคุณภาพระบบบริการ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค

วิธีการอบรม 

  • บรรยาย / กรณีศึกษา /ฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตผู้ประสบอันตราย

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล

  • การทดสอบหลังการอบรม
  • ระยะเวลาเข้ารับการอบรม 100 %

หัวข้อบรรยาย 

วันที่หนึ่ง

ส่วนที่ 1  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไฟฟ้า

09.00-10.0    ลงทะเบียน

09.00-10.30  กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

  • ประเภทและลักษณะของการประสบอันตรายจากไฟฟ้า
  • สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากไฟฟ้า
  • ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้า

10.30-10.45  พักทานอาหารว่าง

10.45-12.00

  • ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์
  • หลักการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
  • อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
  • การตรวจสอบระบบไฟฟ้าเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

12.00-13.00  พักทานอาหารกลางวัน

13.00-17.00   หลักการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

  • Work Shop / แบ่งกลุ่มการฝึกนำเสนอ

วันที่สอง

08.30-09.00 น. ลงทะเบียน

09.00-12.00 น. เทคนิคการสอนอย่างมั่นใจ

12.00-13.00 น. พัก

13.00-16.00 น. เทคนิคการสอนอย่างมั่นใจ

วันที่สาม

วิทยากรโดย  ดร.ศิริลักษณ์  จิตต์ระเบียบ

08.30-09.00   ลงทะเบียน

09.00-17.00

  • วิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า
  • วิธีการปฐมพยาบาลและช่วยชีวิตผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า (ฝึกปฏิบัติ)
    • การประเมินแผลไหม้จากการประสบอันตรายจากไฟฟ้าและการปฐมพยาบาลแผลไหม้
    • กรณีผู้ประสบอันตรายกระดูกหักและการเข้าเฝือกผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า
    • กรณีผู้ประสบอันตรายหยุดหายใจ

16.30-17.00    ทดสอบหลังการอบรม /มอบวุฒิบัตร

 

ภาพกิจกรรมอบรม