สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

หลักสูตร : ความปลอดภัยการทำงานบนที่สูงสำหรับผู้ควบคุมงาน

แผนอบรมความปลอดภัย

             การทำงานบนที่สูง หรือทำงานต่างระดับที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานบำรุงรักษา งานงานในระบบอุตสาหกรรม งานสายส่งไฟฟ้า งานทำความสะอาด หรือแม้กระทั่งการทำงานในหลุม บ่อ เป็นต้น  งานดังกล่าวนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ควบคุมงาน หรือหัวหน้างานที่มีความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการฝึกฝนในการปฏิบัติงานที่สูงมาเป็นอย่างดี

             ดังนั้น ผู้ควบคุมงาน หรือหัวหน้างานจึงมีบทบาทสำคัญ ทั้งในเรื่องการกำกับ ดูแลผู้ปฏิบัติงานให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ และขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง การระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การป้องกันและควบคุมอันตราย มีการวางแผนการปฏิบัติงาน การตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง และอุปกรณ์คุ้มครองภัยส่วนบุคคล รวมไปถึงจัดทำแผนตอบโต้เหตุฉุกเฉินกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตราย ทั้งนี้เพื่อลดความสูญเสีย และให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุดในระหว่างที่มีการปฏิบัติงานบนที่สูง

              โดยหลักสูตรการฝึกอบรมนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ควบคุมงานหรือหัวหน้างาน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับที่สูง ได้ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยให้เป็นไปตามกฎหมายความปลอดภัยของประเทศไทย เช่น กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564  หรืออ้างอิงไปถึงข้อกำหนดขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อาทิ American National Standards Institute (ANSI) , Occupational Safety and Health Administration (OSHA ) , Industrial Rope Access Trade Association (IRATA)  โดยผู้ควบคุมงาน หัวหน้างาน ผู้รับเหมา หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานบนที่สูงโดยตรง จะสามารถนำความรู้ความเข้าใจทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติไปปรับในการปฏิบัติงานบนที่สูงในสถานประกอบการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อไป

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อให้ตระหนักถึงอันตราย และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำงานบนที่สูง
  • เพื่อให้มีความรู้ ความใจ ในวิธีปฏิบัติงานบนที่สูงในรูปแบบต่าง ๆ อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
  • เพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมงาน สามารถวางแผนการปฏิบัติงาน และแผนฉุกเฉินที่ได้
  • เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจ วิธีการตรวจเช็คตรวจสอบอุปกรณ์เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง และอุปกรณ์คุ้มครองภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้มีความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวการปฐมพยาบาลผู้ประสบอันตรายเบื้องต้น

ระยะเวลาการอบรม

  • 2 วัน  (12 ชั่วโมง)

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 6,000 บาท

  • 5,800 บาท (สมาชิกสมาคมฯ)

เนื้อหาหลักสูตร

 หัวข้อบรรยาย / กำหนดการอบรม (Topic / Program)

 

วันที่ 1 (Day 1)  
08.30 - 09.00 ลงทะเบียน (Registration)
09.00 - 10.30

ภาคทฤษฎี
กฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง
    - กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม

ในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.๒๕๕๑ หมวด๑ การทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง

การพังทลาย และการกระเด็นหรือตกหล่นของวัสดุ
     - แนวทางด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานอื่น ๆ เช่น ข้อกำหนดขั้นพื้นฐานของมาตรฐาน ANSI Z359.2  

ข้อกำหนดของ OSHA 1926.503 และข้อกำหนดของ EN STANDARDS

10.45 - 12.15

สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง

    - ธรรมชาติของอันตรายในสถานที่ทำงาน
    - สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและอันตราย
    - อันตรายที่อาจได้รับกรณีฉุกเฉิน
 13.15 - 16.15

แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยและวิธีการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
    - หลักการตรวจสอบสภาพแวดล้อมและบริเวณพื้นที่การทำงานบนที่สูงให้ปลอดภัย
    - หลักการชี้บ่งอันตราย วางแผนควบคุมและป้องกันอันตรายเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง
    - มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงตามลักษณะต่าง ๆ
    - การวางบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการทำงานบนที่สูง

    - การวางแผนฉุกเฉิน และเตรียมการสำหรับการช่วยเหลือกู้ภัย

การกำกับดูแลการทำงานบนที่สูง
   
- ระบบเอกสารสนับสนุนการทำงานและการขออนุญาตเข้าทำงาน

    - การขออนุญาตเข้าทำงานและการควบคุมอุบัติเหตุในการทำงานบนที่สูง

    - การกำกับดูแลเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องมือกลที่ใช้สำหรับทำงานบนที่สูง
    - การกำกับดูแลพื้นที่ทำงาน เขตเตือนอันตราย เขตอันตราย อุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่

    - การกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง

 16.15 - 16.30

ทำแบบทดสอบหลังการอบรม

 วันที่ 2 (Day 2)  
 08.30 - 09.00 ลงทะเบียน (Registration)
 09.00 - 16.30

อุปกรณ์และเครื่องมือเกี่ยวกับการป้องกันการตกจากที่สูง
    - ชนิดและประเภทของอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง

    - อุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ ตามลักษณะงาน

    - การตรวจสอบระบบป้องกันการตก

    - การตรวจสภาพอุปกรณ์ ก่อนใช้งานประจำวัน และตรวจสภาพตามระยะเวลา

    - ระบบเชือก และเงื่อนที่สำคัญในการทำงานบนที่สูง

    - การผูกยึด (Anchorage Connectors)

ฝึกปฏิบัติเทคนิคการทำงานบนที่สูง
  
 - การตรวจสอบระบบป้องกันการตก  

    - การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตก ในแนวระนาบ แนวดิ่ง แนวลาดเอียง

    - การใช้อุปกรณ์ในการทำงานบนที่สูง ปฏิบัติงานในแนวระนาบ แนวดิ่ง แนวลาดเอียง
    - จำลองการขออนุญาตเข้าทำงาน และปฏิบัติติดตามแผนปฏิบัติงาน

หลักการช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยบนที่สูง
    - การเตรียมการสำหรับการช่วยเหลือกู้ภัย

    - การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บอย่างถูกวิธี

    - จำลองสถานการณ์ดำเนินการตามแผนฉุกเฉิน

การทดสอบภาคปฏิบัติ และมอบวุฒิบัตร

 

หมายเหตุ : พักเบรก 10.30 - 10.45 น. , 14.30 - 14.45 น. พักกลางวัน 12.15 - 13.15 น.