สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

หลักสูตร : หลักสูตรทบทวนการทำงานในที่อับอากาศ

         กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2562 ข้อ 20 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ  รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

         โดยประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หมวด 2 ข้อ 14 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างเข้าฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามข้อ 13 ทุก 5 ปีนับแต่วันสุดท้ายของการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต (ข้อ 8) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน (ข้อ 9) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ (ข้อ 10) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน (ข้อ 11) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (ข้อ 12) โดยจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันก่อนครบกำหนด 5 ปี

         เนื่องจากการทำงานในสถานที่อับอากาศนับว่าเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน  ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และทรัพย์สินเสียหาย ตลอดจนประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงได้รับอันตรายได้   ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในสถานที่อับอากาศทุกตำแหน่งหน้าที่ แม้ว่าจะได้ผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดมาแล้วก็ตาม จึงควรจะได้รับการอบรมทบทวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

            1. ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้น

            2. ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่เกิน 5 ปี (เอกสารต้องอยู่ในช่วงการทบทวน ภายใน 30 วันก่อนครบอายุ 5 ปี)

รายละเอียดหลักสูตร

วิทยากรบรรยาย

  • วิทยากรที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และขึ้นทะเบียนวิทยากรกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

จำนวนผู้เข้าอบรม

  • ไม่เกิน 30 คน ต่อรุ่น

วิธีการอบรม

  • บรรยายภาคทฤษฎี และใช้สื่อ Power point

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล

  • ผลการทดสอบก่อน - หลังการอบรม ระยะเวลาเข้ารับการอบรม 100 %

หัวข้ออบรม

(1) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

(2) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ

(3) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ

(4) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย

(5) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ

(6) ระบบการขออนุญาตการทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อปลอดภัย

(7) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ