สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

วิธีการป้องกันอุบัติเหตุมีหลายวิธีดังนี้

  • โดยการออกกฎโรงงาน( regulation ) ให้มาตรฐานการทำงาน แนวทางการปฏิบัติ การทดสอบ การดำเนิน การและ หน้าที่ปฏิบัติต่าง ๆ ที่ถูกต้องและปลอดภัยในโรงงาน
  • โดยการจัดทำมาตรฐาน ( standardization ) กำหนดมาตรฐานของโครงสร้าง เครื่องจักรกล และขั้นตอน การ ปฏิบัติงานต่าง ๆ ภายในโรงงานให้สอดคล้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุ
  • โดยการตรวจสอบ ( inspection ) เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของคนงาน
  • โดยการทำวิจัยทางเทคนิค ( technical research ) เป็นการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ โครงสร้างการใช้ งานของเครื่องจักรต่าง ๆ 
  • โดยการวิจัยทางการแพทย์ ( medical research ) เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับร่างกาย คนงานและความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะ ที่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมของร่างกาย ในการทำงาน
  • โดยการวิจัยทางจิตวิทยา ( psychological research ) ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง จิตใจคน งาน กับการ เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน
  • โดยการวิจัยทางสถิติ ( statistical research ) เป็นการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลและวิจัยหาแนวโน้ม ของการเกิด อุบัติเหตุและจุด ที่มี การเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุด
  • โดยการให้การศึกษา( education ) โดยการสอนวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย ในหมาวิทยาลัย และโรงงาน อุตสาหกรรม
  • โดยการฝึกอบรม ( training ) โดยการอบรมคนงานทุกคนที่เข้ารับหน้าที่เพื่อให้มีการทำงานที่ปลอดภัยที่สุด
     

การรวบรวมสถิติของอุบัติเหตุ

       มาตรการป้องกันอุบัติเหตุที่ได้ผลในทางปฏิบัติมักได้จากการรวบรวมข้อมูลและสถิติของอุบัติเหตุที่ถูกต้องสมบูรณ์
มีความคลาดเคลื่นน้อยและให้รายละ เอียดได้มากพอ ซึ่งต้องอาศัยระบบการบันทึกรายงาน แจ้อุบัติเหตุที่ มีประสิทธิ ภาพ สูง นอกจากนี้รายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์ ของอุบัติเหตุ ก็มีส่วนสำคัญ ต่อการวิเคราะห์ด้วย

จิตวิทยาคนงานเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ

        ทุกคนไม่อยากจะประสบอุบัติเหตุ แต่ทุคนก็เลี่ยงที่จะต้องยุ่งยากในการทำงาน เพียงเพื่อให้มีความปลอดภัย ขึ้นเท่า นั้นจึงได้เสนอแนว การวิเคราะห์สาเหตุ ที่อยู่เบื้องหลังเหตุผลที่ทำให้คนงานส่วนใหญ่ พาตนเองเข้าสู่อันตราย จากอุบัติเหตุดังนี้

  1. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มักเกิดกับคนงานที่ไม่ผ่านโรงเรียนอาชีวศึกษามาก่อนหรือผ่านมาแต่ก็ไม่ได้รับการสอนในหลักสูตร ว่า ด้วยความ ปลอดภัยและเมื่อ เข้าทำงานไม่ได้รับการฝึกฝนที่เพียงพอ
     
  2. สภาพแวดล้อมที่เลวร้าย 
    สภาพแวดล้อมที่เลวร้าย อาจจำแนกออกเป็น 2 อย่างคือ ทางด้านร่างกายและจิตใจทางด้านร่างกายคนงานทำงาน ภายใต้ความร้อน มากเกินไป หนาวเกินไป เสียงดังและอากาศไม่บริสุทธิ์มีแนวโน้มจะก่ออุบัติเหตุได้ง่ายทาง ด้านสภาพ จิตใจ ของคนงานที่เกิดจากความขัดแย้งของเพื่อนร่วมงานกับหัวหน้างานหรือถูกเร่งรัดกดดันให้เร่งงานย่อมก่ออันตราย ได้มาก
     
  3. ทำเลไม่เหมาะสม ตั้งอยู่ห่างไกลไปมาลำบาก คนงานต้องเดินทางไกลๆ
     
  4. สภาพเศรษฐกิจบีบรัด ในรายการที่ต้องจ่ายค่าแรงตามตามปริมาณการผลิต คนงานทุกคนย่อมพยายามเร่งผลผลิตของตนเอง ให้สูงที่สุด เท่าที่จะทำได้ อะไรก็ตามที่ขัดขวางการทำงานให้ช้าลงย่อมถูกคนงานละทิ้งไป
     
  5. การปกครองบังคับบัญชาที่บกพร่อง โรงงานที่นายจ้างและกลุ่มผู้บริหาร ทำตัวให้แยกออกจากคนงานและมีความขัดแย้งกัน จนต้องปกครองกัน ด้วย ฐาน อำนาจ และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เคร่งครัดจนทำให้คนงานส่วนใหญ่เป็นปฏิปักษ์ต่อฝ่ายบริหาร ย่อมมีโอกาสเกิด อุบัติเหตุได้มาก
     
  6. ความประมาทของคนงาน โดยเฉพาะคนงานที่มีประสบการณ์ หรือ มีความชำนาญมาแล้ว จะมีความเชื่อมั่นในฝีมือและความเก่งของตนมาก และมักปฏิเสธที่จะทำงานกับเครื่องจักรกลที่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายหรือที่จะต้องสวมชุดป้องกันอันตรายพวกเขาจะหลีก เลี่ยงและเลือกการเสี่ยงใช้เครื่อง โดยถอดเอาอุปกรณ์ป้องกันอัตรายออก
     
  7. จำเจของงานมากเกินความไป  บางคนชอบงานแปลกใหม่ เมื่อต้องทำงานในหน้าที่ที่จำเจก็เกิดความเบื่อหน่าย และขาดความสนใจ เป็นผลให้ เกิด อุบัติเหตุขึ้นอย่างรุนแรงได้

 
หลักการ 6E ในการป้องกันอุบัติเหตุ

ในการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธฺภาพนั้น ต้องยึดหลักการ ุ6E ได้แก่

  • Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
  • Education ( การศึกษา)
  • Enforcement ( การออกกฎบังคับ )
  • Engineering คือการใช้ความรู้ทางวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ในการคำนวณและออกแบบเคริองจักรเครื่องมือ ที่มีสภาพการใช้งานที่ปลอดภัยที่สุด
  • Education คือการให้การศึกษาหรือการฝึกอบรมและแนะนำคนงาน หัวหน้างานตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุและการเสริมสร้างความปลอดภัยภายในโรงงาน
  • Enforcement คือการกำหนดวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย และมาตรฐานควบคุมบังคับให้คนงานปฏิบัติตาม เป็นระ เบียบปฏิบัติที่จะต้องประกาศให้ทราบทั่วกันหากผู้ใดฝาฝืนก็จะถูกลงโทษ

ควรจะเน้นหนักที่ E ตัวไหน

       การใช้หลัก 6 E ต้องนำทั้งวิชาการวิศวกรรม Engineering การให้การอบรม แก่คนงาน Educationและการออก กฏ ข้อบังคับEnforcement มาดำเนินการพร้อมกันอย่างเหมาะสมในกะบวนการผลิตและบริหารโรงงาน จึงจะเป็น มาตร การที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันอุบัติ และการเสริทสร้างความปลอดภัยในโรงงานภายในเวลาสั้นๆ