สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

head training

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย  ( Job Safety Analysis )

       การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยเป็น กิจกรรมพื้นฐานที่ทำได้ง่าย ๆ จุดประสงค์เพื่อสืบค้นแนว โน้มของ อัน ตราย ที่จะเกิดขึ้นใน แต่ละ ขั้นตอน แล้วหาทางแก้ไขโดย การปรับปรุง วิธีการ ทำงาน ให้ถูกต้อง  JSA สมัย ใหม่ จะไม่เน้นแต่การสืบค้นหาอันตราย ในส่วนที่มี แนวโน้ม จะเกิดอุบัติเหตุ เท่านั้น แต่จะ วิเคราะห์ไปถึงอันตราย อื่น ๆด้วย เช่น เคมี ฝุ่นผง สภาพบรรยากาศรวมไป ถึงการหาข้อมูล ในทางการยศาสตร์เป็นการหาข้อมูลเพื่อให้ผู้ บริหาร ผลักดันให้เป็นระเบียบปฏิบัติของ องค์กร เป้าหมายจริง ๆ ของ JSA ต้องมีผลในทางปฏิบัติ ไม่ใช่แค่เก็บไว้ในแฟ้ม หรือทำเป็นโปสเตอร์ ให้คน ดูส่วน ใหญ่ที่ ทำกันมาเก็บข้อมูล ได้น้อยเกินไป อีกทั้งไม่ได้ประสานกับฝ่ายบริหาร จึงไม่เป็น ที่ยอมรับ ของคนงาน ที่จะได้ รับประโยชน์โดยตรง

การทำ JSA ต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

  • ต้องมีรายละเอียดมากพอทั้งการระบุอันตราย หรือ แนวโน้มของอันตราย รวมไปถึงการแก้ไขปรับปรุง
  • ต้องทำงานเป็นทีมมีการประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในระดับหัวหน้างาน คือต้องให้ทุกฝ่ายรับรู้ หรือยอมรับ
  • ต้องกำหนดเป้าหมายในทางปฏิบัติ ข้อมูลที่ได้ต้องผลักดัน ให้นำไปใช้ในการอบรมพนักงาน ใหม่ หรือพนักงาน ย้ายแผนก
  • ต้องมีการสรุปผลหลังจากการทำโครงการ โดยต้องระบุว่าทำอะไรที่ไหน อย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อให้เกิด ความสำเร็จ อย่างสมบูรณ์
  • ต้องมีการประเมินผล จาก JSA ในแต่ละครั้ง และต้องทบทวนโครงการเมื่อพบข้อผิดพลาด

การเริ่มต้นทำโครงการ JSA
Job Safety Analysis ยังมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Job Hazard Analysis , Safety Task Assignment หรืออื่น ๆแล้วแต่สาระสำคัญ ในหลักการ ซึ่งเป็นข้อดีของ โครงการ นี้เหมือน กัน ทุกประการ 

  • มีการระบุงานที่จะทำการวิเคราะห์เป็นขั้นตอน step-by-step บนพื้นฐานที่ว่างานชิ้นหนึ่ง ประกอบด้วยงานย่อย หลาย อย่างรวมกัน มีลักษณะเป็นกระบวนการจากจุดเริ่มต้น ถึงจุด สิ้น  สุดแบ่ง แยกเป็นขั้นตอน ที่ชัดเจนแน่นอน
  • เป็นการศึกษาอย่างใกล้ชิดจากจุดที่เป็นต้นเหตุของอันตราย นั่นคือสถานที่ทำงาน นั่นเอง
  • มีการระบุงานที่จะวิเคราะห์อย่างเป็นเอกเทศ โดยเฉพาะ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับงานอื่น ทำให้มอง เห็นปัญหาอย่างชัดเจน ไม่สับสน
  • ดังนั้นการทำ JSA หลักคือ ให้วิเคราะห์เฉพาะงานใดงานหนึ่งเท่านั้น และต้องวิเคราะห์ อย่างครบ ถ้วน ของกระบวน ที่เกิดขึ้นในงานนั้น 


ขั้นตอนพื้นฐานการทำ JSA
  1. เลือกงานที่ต้องการวิเคราะห์
  2. แยกแยะขั้นตอนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการของงานนั้น
  3. ระบุอันตรายที่มีหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นของแต่ละขั้นตอน ที่แยกออกมาดังกล่าว
  4. หาวิธีการแก้ไขเพื่อลดอันตราย หรือลดแนวโน้มตามที่ระบุได้นั้น

การเลือกงานและการแยกแยะขั้นตอน
      งานที่เป็นเป้าหมายในการทำ JSA ส่วนมากจะเป็นงานใหม่ที่เพิ่งบรรจุเข้าสายการผลิต ซึ่งคนงานยังไม่ มีมาตร การ ความ ปลอดภัย ที่ดีเพียงพอ หรืองานเก่าที่มีอุบัติเหตุ บ่อย ครั้งจำเป็นต้องมีการทบทวนวิธีการทำงานแต่หาก เป็นการวิเคราะห์ตามแผนงาน ทั่วไป ที่ไม่ ได้ระบุถึงความจำเป็น เร่งด่วน ควรเริ่มที่งานเล็ก ๆง่ายต่อการแยกแยะ หรือ งานที่มีขั้น ตอนน้อยไม่ซับซ้อน เช่น งานยก ของในแผนกจัดเก็บวัสดุ ประกอบด้วยการยกของ การเข็นของ การ เก็บเมื่อเลือกงาน ที่ต้องการได้แล้ว ต่อไปคือ จัดลำดับก่อนหลัง ในการวิเคราะห์ วิธีง่าย ๆ คือ วิเคราะห์ ตามลำดับ ที่เป็นขั้นตอนตามปกติ ตามธรรมชาติของงานชนิดนั้น และควรเจาะลึก ลงไปถึง การกระทำของคนงาน ในแต่ละ ขั้น ตอนด้วย
การแยกแยะขั้นตอนและจัดลำดับงานย่อย เพื่อการวิเคราะห์อาจเป็นไปในลักษณะอื่น ๆ ตามสมควร บางแห่ง จะ ใช้ความเคลื่อน ไหว เป็นเกณฑ์ เช่น การวิเคราะห์การทำงาน ในที่อับ อากาศ จะกำหนดจุดเริ่มต้นที่ปากทางเข้า คน งานเดินลงไป การเข้าทำงานข้างใน จนกระทั่งคน งาน เดินออกมา โดยไม่นำขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวข้อง กับ การเคลื่อน ไหวมา เกี่ยว ข้อง อย่างไรก็ตามการเลือกงาน เป็นหน้าที่ของ จป. โดยตรง ที่จะตัดสินเอง แต่ต้องเป็นการ พิจารณา ตามหลักวิชา การดังนี้

  • อัตราการบาดเจ็บหรือ เจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับงานนั้น ทั้งที่เกิดจากตัวงานเองและผู้ปฏิบัติงาน งานที่มีอุบัติเหตุ    ซึ่ง ควรทำการวิเคราะห์โดยเร็ว
  • ความถี่ของการเกิดอุบัติการณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นเรื่อย ๆ หากปล่อยไว้อาจกลาย เป็นอุบัติ เหตุ 
  • แนวโน้มของการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วย ให้พิจารณางานที่บรรจุงานใหม่ จะเป็นงานง่าย หรือ มากขั้นตอน ก็ได้
  • งานที่ไม่เคยมีประวัติใด ๆมาก่อนหรืองานที่ไม่สามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้ ควรสันนิษฐานไว้ก่อนถึง แนวโน้ม ของอันตรายอย่างน้อยความ ไม่คุ้นเคยกับงาน อาจก่อ ให้เกิด อุบัติเหตุได้
  • งานที่ต้องศึกษาด้านการยศาสตร์ (Ergonomics) เพื่อปรับปรุงสภาพงาน


การสืบค้นอันตรายในแต่ละขั้นตอนการทำงาน ปัจจุบันนิยมทำกัน 3 ลักษณะ 
       1.การประชุมหรือหารือกับคนงาน ( Discussion )เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เสียค่าใช้จ่ายน้อย ผู้ทำโครงงานจะจัด ประชุม คนงาน มีหัวหน้างาน นั่งอยู่ด้วย เพื่อให้เล่าถึงอันตรายหรือ แนวโน้ม ของอันตราย ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน อาจใช้แบบสอบถามเข้าร่วมด้วยก็ได้ ข้อมูล ที่ได้จะมีค่ามาก เพราะเป็นข้อมูลดิบ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริง สามารถนำไปวิเคราะห์ได้อย่าง มี ประสิทธภาพ อาจต้องเตรียมคำถาม ที่เข้าประเด็นจริง ๆ 
       2.การสังเกตุโดยตรง(Direct Observation )ทำได้โดยตามคนงานเข้าไป สังเกตการทำงานในแต่ละขั้นตอน อาจจะมีการสัมภาษณ์คน งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอและรัดกุม 
       3.การใช้กล้องวีดีโอ (Video Taping) บันทึกภาพขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียดในแต่ล่ะขั้นตอน พร้อม สัมภาษณ์คนงาน ให้ระบุอันตรายที่เคยเกิดขึ้น ในจุดที่มีความเสี่ยงมาก อาจถ่ายละเอียดขึ้น เป็นพิเศษ พอเพียง ต่อการ นำไปวิเคราะห์

ระบุอันตรายและหาทางแก้ไข

เมื่อทราบข้อมูลอันตรายในแต่ละขั้นตอนแล้ว ต้องระบุให้ชัดว่าเป็นอันตรายชนิดใด เช่น

  • อันตรายจริงที่เกิดขึ้น 
  • อันตรายที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ 
  • อันตรายโดยตรงจากการทำงาน ความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ 
  • อันตรายที่มีอยู่ในพื้นที่การทำงาน หรือสภาพแวดล้อมการทำงาน 

 

ตัวอย่างการระบุอันตราย การยกของ

1. อันตรายจริง

ขอบคมของอุปกรณ์

2.แนวโน้มอันตราย

พื้นลื่น วัสดุเหนือหัวไม่มั่นคง

3.อันตรายโดยตรงจากงาน

ของหล่นทับเท้าจากการยกของไม่เหมาะสม

4.อันตรายแวดล้อม

ฝุ่น ผง ความร้อน

 

      นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาอันตรายจากการขาดอุปกรณ์ป้องกัน หรือการใช้ที่ไม่เหมาะสม เช่น การ์ด ชำรุด ไม่มี หมวกนิรภัย ถ้ามีการเกี่ยวข้องกับ การยศาสตร์ก็ควรพิจารณา ท่าทางการเคลื่อน ไหวด้วย โดยเน้นการเคลื่อนไหว ที่ผิด ปกติ 
เมื่อระบุอันตรายในแต่ละขั้นตอนของการทำงานออกมาแล้ว ก็ควรจะมีการแก้ไขเพื่อลดอุบัติเหตุ หรือ อันตราย สามารถทำ ได้สองแนวทาง คือ
       - ทบทวนวิธีที่เคยใช้มาแล้วได้ผล
       - ค้นหาวิธีจากเอกสารอ้างอิง

การแก้ไขเพื่อลดอันตรายควรมีประเด็นดังต่อไปนี้

  • กำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย 
  • กำหนดวิธีการ
  • กำหนดอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ 
  • กำหนดงบประมาณ
     

ตารางการแบบการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย

ขั้นตอนการทำงาน
(Sequences of Basic Job Step )

อันตรายที่อาจเกิดขึ้น
(Potential Accidents or Hazards )

วิธีทำงานทีปลอดภัย
(Recommended Safe Job Procedure )