หลักสูตร : ผู้สอนด้านความปลอดภัยฯ สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ตาม พรบ.ความปลอดภัยฯ

วัตถุประสงค์

  1. หลักสูตรที่เรียนรู้แบบ step by step เพอื่ ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ในการนำไปถ่ายทอด
  2. เสริมทักษะเพื่อการสอนอย่างมั่นใจ
  3. ฝึกปฏิบัติแบบสถานการณ์จริง
  4. เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการมีผู้สอนหลักสูตรความปลอดภัยฯ สำหรับลูกจ้างใหม่/ลูกจ้างทั่วไปที่สามารถดำเนินการสอนได้ด้วย สปก.เอง

 

     พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

     ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน

       การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ในการฝึกอบรมวิทยากรฝึกอบรม ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่าสามปีหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าสามปี ทั้งนี้ ต้องมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
        เป็นผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี สำหรับการฝึกอบรมเฉพาะข้อ ๗ และข้อ ๘
  • เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า โดยสอนวิชาด้านความปลอดภัยในการทำงาน และมีประสบการณ์การสอนเกี่ยวกับวิชาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
  • เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หลักสูตรผู้สอนด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ตาม พรบ.ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ. 2554 (Training Program for the trainer for OSH&E for General& New Employee pursuant OSH&E Act B.E 2554) 2 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือเทียบเท่า หรือผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานตรวจความปลอดภัยของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานมาไม่น้อยกว่าสามปี และมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี  เพื่อสร้างมาตรฐานในการสอนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีทักษะ มีความมั่นใจในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้ออกแบบหลักสูตรให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้แบบ step by step ในเนื้อหาวิชาที่จะถ่ายทอด

 กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ที่มีคุณสมบัติตาม (1) (2) และ (3) ตามคุณสมบัติของวิทยากรข้างต้น

ระยะเวลาการอบรม

  • 18 ชั่วโมง (3 วัน)

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 5,500 บาท

  • 5,000 บาท (สมาชิกสมาคม)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดหลักสูตร

รูปแบบการอบรม

  • การบรรยาย การทำกิจกรรมกลุ่ม การถาม-ตอบ และการทำข้อสอบ

ทีมวิทยากร

  • นายสวินทร์ พงษ์เก่า
  • นายจักร ศิริภักดิ์
  • นายสัณห์ อ่อนบรรจง
วันแรก  
08.30-08.45 น. ลงทะเบียน
08.45-09.00 น. ทดสอบก่อนการอบรม
09.00-10.30 น. จับประเด็นหัวข้อ “ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” 
ควรนำเสนออย่างไร
10.30-10.45 น. พัก
10.45-12.15 น. จับประเด็นหัวข้อ“กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน”
ควรนำเสนออย่างไร
12.15-13.15 น. พัก
13.15-14.30 น. จับประเด็นหัวข้อ“ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน”
ควรนำเสนออย่างไร
14.30-14.45 น. พัก
14.45-16.30 น. Work shop จับประเด็นหัวข้อ“ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ควรนำเสนออย่างไร
วันที่สอง  
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-12.00 น. เทคนิคการสอนอย่างมั่นใจ 
12.00-13.00 น. พัก
13.00-16.00 น. เทคนิคการสอนอย่างมั่นใจ
วันที่สาม  
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-12.00 น. ฝึกปฏิบัติการสอน “หลักสูตรความปลอดภัยฯ สำหรับลูกจ้างทั่วไป/ใหม่”เป็นรายบุคคล”
12.00-13.00 น. พัก
13.00-16.00 น. ฝึกปฏิบัติการสอน “หลักสูตรความปลอดภัยฯ สำหรับลูกจ้างทั่วไป/ใหม่”เป็นรายบุคคล”
16.00-16.30 น. มอบวุฒิบัตร

ภาพกิจกรรมอบรม