หลักสูตร : การเป็นวิทยากรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

          ด้วยกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2562 ข้อ 20 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ  รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

          โดยประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 หมวด 3 วิทยากรฝึกอบรม ข้อ 16 วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

  • มีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า รวมทั้งมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมงต่อปี
  • เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ โดยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบแปดชั่วโมง รวมทั้งมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสองปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมงต่อปี
  • เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับเทคนิค และระดับเทคนิคขั้นสูงมาไม่น้อยกว่าสามปี โดยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบแปดชั่วโมง รวมทั้งมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสามปี และมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมงต่อปี
  • สำเร็จการศึกษาเฉพาะทางหรือผ่านการอบรมเฉพาะทางเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยายและมีประสบการณ์เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อวิชาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง

          ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนสถานประกอบกิจการที่อยู่ในขอบข่ายกฎหมายนี้บังคับใช้ ได้พัฒนาบุคลากรของหน่วยงานตนเองที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ให้มีทักษะ ความสามารถ และมีศักยภาพที่เพียงพอในการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ของวิทยากรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

          เนื่องจากการทำงานในที่อับอากาศนับว่าเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน  ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และทรัพย์สินเสียหาย ตลอดจนประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงได้รับอันตรายได้   ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศทุกตำแหน่งหน้าที่จึงต้องได้รับการฝึกอบรม อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อีกทั้งยังส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ และสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการได้ปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎหมายประกาศกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง                                                                        

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติในการเป็นวิทยากร ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการฝึกทักษะที่ถูกต้อง และปลอดภัยในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ  ทำให้นายจ้างได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562  
  • เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติในการเป็นวิทยากร ได้มีโอกาสในการเสริมสร้างทักษะ ความรู้ความสามารถ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ ในการถ่ายทอดความรู้ ด้านความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศในสถานประกอบการของตนเอง
  • เพื่อให้ผู้ที่มีคุณสมบัติในการเป็นวิทยากร ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรม และจากการปฏิบัติงานไปอบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศทุกตำแหน่งหน้าที่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการฝึกปฏิบัติในแต่ละบทบาทหน้าที่ ให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศในสถานประกอบการของตนเอง

ระยะเวลาการอบรม

  • 10 วัน

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 35,000 บาท

  • 30,000 บาท (สมาชิกสมาคม)

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้อ/กำหนดการอบรม

อบรมวันที่ 1 : ภาคทฤษฎี

  • กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ
  • กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำงานในที่อับอากาศ
  • ความหมาย ชนิด ประเภท ของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ
  • การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ
  • Workshop การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ
  • บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

อบรมวันที่ 2 : ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

  • แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยในที่อับอากาศ
  • วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย
  • Workshop การวางแผนและจัดทำแผนการปฏิบัติงาน และการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
  • หลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย ระบบล็อคและป้ายทะเบียน
  • เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือระบายอากาศในที่อับอากาศ
  • การระบายอากาศ และการใช้เครื่องมือระบายอากาศ
  • การตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย ระบบล็อคและป้ายทะเบียน

อบรมวันที่ 3 : ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

  • เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ
  • เทคนิคการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ
  • อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่ใช้ในที่อับอากาศ
  • การควบคุมดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
  • การตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ
  • การใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ
  • การใช้เงื่อนเชือกที่ใช้ในในการทำงานในที่อับอากาศ

อบรมวันที่ 4 : ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

  • อันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ
  • หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น พัน ดาม ห้ามเลือด
  • ฝึกปฏิบัติ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น พัน ดาม ห้ามเลือด
  • หลักการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการปั๊มหัวใจ (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED)
  • ฝึกปฏิบัติ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการปั๊มหัวใจ (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED)
  • หลักการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บด้วยมือเปล่าโดยไม่มีอุปกรณ์
  • ฝึกปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บด้วยมือเปล่าโดยไม่มีอุปกรณ์
  • หลักการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ และการใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
  • ฝึกปฏิบัติ การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ และการใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ อาทิเช่น สไปนอลบอร์ด, เปลสเกท
  • ฝึกปฏิบัติ ทบทวนการใช้เงื่อนเชือกที่ใช้ในในการทำงานในที่อับอากาศ

อบรมวันที่ 5 : ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

  • หลักการระบบบัญชาการเหตุฉุกเฉิน (ICS)
  • Workshop ระบบบัญชาการเหตุฉุกเฉิน (ICS)
  • หลักการทำงานกับสารเคมีอันตรายและหลักการตอบโต้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • Workshop การทำงานกับสารเคมีอันตรายและการตอบโต้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • ฝึกปฏิบัติ ทบทวนการใช้เงื่อนเชือกที่ใช้ในในการทำงานในที่อับอากาศ

อบรมวันที่ 6 : ภาคปฏิบัติ

  • การขออนุญาตทำงานและวิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  • การกำหนดบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • การใช้เครื่องมือในการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในที่อับอากาศ
  • การประเมินสภาพงานและการวางแผนควบคุมอันตรายในที่อับอากาศ
  • การตัดแยกระบบ และการระบายอากาศก่อนเข้าปฏิบัติงาน
  • ทบทวนการใช้เงื่อนเชือกที่ใช้ในในการทำงานในที่อับอากาศ
  • การสร้างจุดยึดแบบชั่วคราว และแบบถาวร (Anchorage System)
  • การติดตั้งและการใช้ Tripod – Wince – SRL
  • การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในงานที่อับอากาศ
  • การใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศ
  • การปิดขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศ

อบรมวันที่ 7 : ภาคปฏิบัติ

  • การขออนุญาตทำงานและวิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  • หลักการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจสำหรับงานที่อับอากาศ
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ SCBA , AIR-LINE
  • การทำงานในที่อับอากาศในแนวราบ (Horizontal Confined Space)
  • ทบทวนการใช้เงื่อนเชือกที่ใช้ในในการทำงานในที่อับอากาศ
  • การวางแผนการช่วยเหลือ และการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บในแนวราบ
  • สถานการณ์จำลองเหตุฉุกเฉินในงานที่อับอากาศ
  • การยกเลิกใบอนุญาต และการปิดขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศ

อบรมวันที่ 8 : ภาคปฏิบัติ

  • การขออนุญาตทำงานและวิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  • การใช้อุปกรณ์การทำงานบนที่สูง (Work at height Equipment)
  • การทำงานในที่อับอากาศในแนวดิ่ง (Vertical Confined Space)
  • ทบทวนการใช้เงื่อนเชือกที่ใช้ในในการทำงานในที่อับอากาศ
  • ทบทวนการสร้างจุดยึดแบบชั่วคราว และแบบถาวร (Anchorage System)
  • การติดตั้งและการใช้ระบบรอก (Pulley System)
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ (Rescue Equipment)
  • การวางแผนการช่วยเหลือ และการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บในแนวราบ
  • สถานการณ์จำลองเหตุฉุกเฉินในงานที่อับอากาศ (Scenario)
  • การยกเลิกใบอนุญาต และการปิดขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศ

อบรมวันที่ 9 : ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

  • ทักษะการพูดและนำเสนอสำหรับการเป็นวิทยากร
  • ฝึกการนำเสนอเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรความปลอดภัยการทำงานในที่อับอากาศ
  • สรุปผล ประเมินผลการฝึกอบรม

อบรมวันที่ 10 : ภาคทดสอบทฤษฎี และภาคทดสอบปฏิบัติ

  • การประเมินผล และการทดสอบภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ทักษะประเภทบุคคล (Skill Sheet)
  • การประเมินผล และการทดสอบภาคปฏิบัติ ทักษะประเภททีม
  • การแบ่งบทบาทหน้าที่ แผนปฏิบัติงาน แผนป้องกัน แผนช่วยเหลือ แผนฉุกเฉิน
  • การตรวจสอบสภาพอากาศ การตัดแยกพลังงาน การระบายอากาศ การเข้าทำงานในที่อับอากาศ การสั่งการ การประสานงาน
  • การติดต่อสื่อสาร การจัดทีมช่วยเหลือ การปฐมพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย การยกเลิก/การปิดใบอนุญาต ฯลฯ

ภาพกิจกรรมอบรม