การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับหน่วยงานภาครัฐ

logo-green

        

       การพัฒนาระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อควบคุมความสูญเสียสำหรับราชการส่วนกลาง  ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และกิจการอื่นตามที่กำหนด จัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ให้สอดคล้องตาม พรบ.อาชีวอนามัยความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 

 

หลักการและเหตุผล

        ความสูญเสีย (Loss) เป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่พึงประสงค์ ในความพยายามในการพัฒนาธุรกิจ เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศและเพื่อควบคุมความสูญเสียในปัจจุบันผู้บริหารที่มองการณ์ไกลต้องย้อนกลับมามองดูว่า อะไรคือความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสียภายในองค์กร

        อุบัติเหตุ (Accident) นับว่าเป็นความสูญเสียที่สำคัญและมีผลกระทบโดยตรงทั้งต่อชีวิต (Human Loss)  ทรัพย์สิน (Property Loss) และกระบวนการผลิต (Process Loss) ในการที่เราจะควบคุมความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุให้บรรลุเป้าประสงค์ เราจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงทั้งหมดออกมาอย่างเป็นระบบ ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารงานความปลอดภัยขององค์กรให้สอดคล้องกับหลักการสากลของการบริหารงานความปลอดภัยสมัยใหม่ (ModernSafety Management) ที่กล่าวว่า อุบัติเหตุมิได้เกิดขึ้นจากความบกพร่องของผู้ปฏิบัติงานเพียงอย่างเดียว (Human Error) แต่เป็นเพียง 20% ของสาเหตุเท่านั้น และสาเหตุหลัก 80% คือ เกิดจากความบกพร่องของการจัดการ (Lack of Management Control) และพัฒนาศักยภาพความรู้ ทัศนคติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานไปพร้อม ๆ กัน

       ในพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554  กำหนดให้ราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค  ราชการส่วนท้องถิ่นและกิจการอื่นตามที่กำหนดจัดให้มีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานตามพระราชบัญญัตินี้

     ทางสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย)  เป็นหน่วยงานที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ในการให้คำปรึกษาในการพัฒนาระบบการพัฒนาระบบการจัดการอาชีวอนามัยความปลอดภัย   เพิ่อการควบคุมความสูญเสีย    มีความพร้อมที่จะช่วย ในการยกระดับงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย อันเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิติ  ของข้าราชการ  พนักงานราชการ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐ    ในทุกภาคส่วน ทั้งราชการส่วนกลาง  ราชการส่วนภูมิภาคราชการส่วนท้องถิ่น   ให้มีความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีความผาสุก ในชีวติ อย่างยั่งยืน

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาการดำเนินงานด้านความปลอดภัยขององค์กรให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย

  2. เพื่อพัฒนาบุคลากรทุกระดับในองค์กรให้เล็งเห็นและเข้าใจถึงความสำคัญของอาชีวอนามัยความปลอดภัยอันเป็นรากฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life)

  3. เพื่อทำการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงอันตรายที่แฝงเร้นอยู่ในการทำงานอย่างเป็นระบบ  และจัดทำแผนงานควบคุมความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ

 

วิธีการดำเนินการ

ในการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จะแบ่งขั้นตอนการดำเนินการออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ

  • ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์อันตรายที่แฝงเร้นอยู่ในการทำงานและการประเมินความเสี่ยง (Identify allLoss exposure and Evaluate the risk of loss in each exposure)

  • ขั้นตอนที่ 2 จัดทำแผนและกำหนดกิจกรรมเพื่อควบคุมความเสี่ยง (Develop plan and Safety Activityfor Risk Management)

  • ขั้นตอนที่ 3 องค์กรนำแผนไปสู่การปฏิบัติและตรวจวัดประเมินผล (Implementation and Audit)

  

ประโยชน์ที่จะได้รับ 

  • องค์กรได้ข้อมูลจากการสำรวจเพื่อนำไปสู่การวางแผนในการแก้ไขปรับปรุงเพื่อควบคุมความสูญเสีย

  • เป็นการพัฒนาและยกระดับความปลอดภัยขององค์กร

  • ลดความสูญเสียอันเกี่ยวเนื่องจากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานลดลง

  • ก่อให้เกิดการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ปลอดภัยซึ่งจะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงานให้เกิดความเชื่อมั่นในความปลอดภัยต่อชีวิตการทำงานในองค์กรซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 

คณะผู้จัดทำ

  • รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์  นายกสมาคม
  • ดร.ชัยยุทธ  ชวลิตนิธิกุล  ที่ปรึกษาสมาคม
  • นายวิโชติ บุญเปลี่ยน  ผู้จัดการศูนย์เทคโนโลยีความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  • นายสวินทร์  พงษ์เก่า ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • นางสุมาลี  ชนะชาญมงคล  ที่ปรึกษาศูนย์เทคโนโลยีความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
  • นายเอกชิชย์  สายัณห์  ผู้ชำนาญการพิเศษด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม