193 2การตรวจสุขภาพพนักงานตามปัจจัยเสี่ยง

ตามสภาพแวดล้อมการทำงานจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้สอดคล้องตามกฎหมายดังนี้

  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563

  • ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ.2552

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2559 หมวด 6 ข้อ 16

        ดังนั้นการจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงให้แก่พนักงานได้อย่างพอเพียง และเหมาะสม จะช่วยในการคัดกรอง และป้องกันหรือกำจัดปัจจัยเสี่ยงนั้นก่อนที่จะก่อให้เกิดโรคจากการทำงาน  สถานประกอบกิจการต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างที่มีความเสี่ยงในการทำงานเพื่อให้ทราบสภาวะความเปลี่ยนแปลงของร่างกายสามารถ จำแนกแนวทางการตรวจออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้193 4

    1. การตรวจผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นการตรวจสอบสถานะสุขภาพของลูกจ้าง เพื่อดูอาการแสดงเริ่มแรกของความผิดปกติของสุขภาพของลูกจ้าง
    2. การตรวจเพื่อเฝ้าระวังการสัมผัส เป็นการตรวจปริมาณสารเคมีที่ร่างกายได้รับ พิจารณาใช้สำหรับสารเคมีที่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้ และการเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อประเมินการสัมผัสไม่พอเพียงที่จะประเมินปริมาณสารที่ร่างกายได้รับจากการทำงาน  ซึ่งทำได้โดยการเก็บสารคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อจากร่างกายของลูกจ้างตามเวลาการเก็บตัวอย่างที่กำหนด
    3. การตรวจผลกระทบทางร่างกายอื่นๆ เป็นการตรวจสถานะสุขภาพอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบในการวินิจฉัยการก่อโรคโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
  • เพื่อให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ พยาบาลอาชีวอนามัย พนักงานตรวจความปลอดภัย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดบริการตรวจสุขภาพแก่ลูกจ้าง สามารถจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างได้อย่างพอเพียงพอเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

 193 1