หลักสูตร : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค

แผนอบรม จป.เทคนิค

          กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ ข้อ ๔๓ กำหนดให้นายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ลูกจ้างมีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหาร ทั้งนี้หลักสูตร การฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมของนายจ้างหรือผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

          Ministerial Regulations on provision of occupational safety officers, personnel, unit or a group of personal in order to implement OSH in the establishment of the year 2565, clause 43, requiring employers or training providers to conduct OSH training for the employee qualify as a safety officer at the supervisor and management level. The training of employers or service providers regarding the training to be as prescribed by the Director -General as summary in below table

วัตถุประสงค์ (Objectives)

          1) เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน (The employers shall arrange the employees to be trained to compliant with Thai OSH&E regulations)

          2) เพื่อให้ลูกจ้างที่มีคุณสมบัติมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (The qualified employees shall be trained to have  knowledge , understand and practice their       duties as prescribed by laws)

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม /กลุ่มเป้าหมาย (Qualification of target group)    

          พนักงานที่รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม (Employee shall be allowed by the employer to attend the course)

ระยะเวลาการอบรม

  • 5 วัน (30 ชั่วโมง)

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 7,500 บาท

  • 7,000 บาท (สมาชิกสมาคมฯ)

เนื้อหาหลักสูตร

 หัวข้อบรรยาย / กำหนดการอบรม (Topic / Program)

 

วันที่ 1 (Day 1)  
08.00 - 08.30 ลงทะเบียน (Registration)
08.30 - 09.00 แนะนำหลักสูตร/ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม (Introduction to the curriculum and pretest)
09.00 - 12.00 

หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

ระดับเทคนิค (3 ชั่วโมง) (Module 1 Introduction to OSH&E and Role , duty of Safety officer at Technical level)

 
  • ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (Introduction to OSH&E and Role , duty of Safety officer at Technical level)
  • หลักการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงาน (OSH Management Principle)
12.00 - 13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch)
13.00 - 16.30

หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (3 ชั่วโมง) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Module 2 OSH&E Laws and Essentials of OSH&E Laws)

  (ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

(ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

วันที่ 2 (Day 2)  
08.30 - 09.00  ลงทะเบียน (Registration)
09.00 - 12.00

หมวดวิชาที่ 3 การประเมินอันตรายจากการทำงาน (6 ชั่วโมง) (Module 3.Hazard Assessment)

 

(ก) เทคนิคการชี้บ่งอันตราย (Hazard Identification)

(ข) การประเมินความเสี่ยง (Risk  Assessment)

12.00 - 13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch)
13.00 - 16.30

หมวดวิชาที่ 3 (ต่อ) (Module 3.Hazard Assessment. (Cont.))

 

(ก) การประเมินความเสี่ยง (ต่อ) (Risk Assessment. (Cont.))

(ข) การจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย (Plan arrangement to implement for reducing risk and hazard control)

วันที่ 3 (Day 3)  
08.30 - 09.00 ลงทะเบียน (Registration)
09.00-12.00

หมวดวิชาที่ 4 การตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วยจากการทำงาน และการปรับปรุงสภาพการทำงาน (6 ชั่วโมง)

(Module 4.Inspection of causes of accident , diseases related to work and working condition improvement.)

 

(ก) การตรวจความปลอดภัย (Safety Inspection.)

(ค) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis.)

(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน (Arrangement of OSH&E manual.)

12.00 - 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch)
13.00-16.30

หมวดวิชาที่ 4 (ต่อ) (Module 4.(cont.))

 

(จ) การสอบสวน การวิเคราะห์ การรายงานอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยจากการทำงาน (Investigation , Analysis and Reporting of  accident and illness related to work.)

(ฉ) การปรับปรุงสภาพการทำงาน (Working condition improvement.)

วันที่ 4 (Day 4)  
08.30 - 09.00 ลงทะเบียน (Registration)
09.00-12.00

หมวดวิชาที่ 5 การป้องกันและการควบคุมอันตราย (3 ชั่วโมง) (Module 5. Prevention and controlling of Hazards.)

 

(ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร (Prevention and controlling the hazard of machine.)

(ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า (Prevention and controlling the hazard of electricity.)

(ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ (Prevention and controlling the hazard of handling and storage.)

(ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ (Prevention and controlling the hazard of Fire.)

(จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Prevention and controlling the hazard of working environment.)

(ช) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี (Prevention and controlling the hazard of chemical.)

(ซ) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์ (Prevention and controlling the hazard of ergonomics.)

(ฌ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง (Prevention and controlling the hazard of construction.)

(ญ) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (PPE.)

12.00 - 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch) 
13.00-16.30  

หมวดวิชาที่ 6 การฝึกปฏิบัติ (9 ชั่วโมง) (Module 6. Workshop)

 

(ก) การฝึกปฏิบัติการตรวจความปลอดภัยตามข้อกำหนดกฎหมาย (Workshop - safety inspection as prescribed by laws)

(ข) การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงและควบคุมอันตราย (Workshop – Hazard identification , risk assessment and arrangement of plan to be implemented to risk reduction and hazard controlling.)

 วันที่ 5 (Day 5)  
08.30 - 09.00 ลงทะเบียน (Registration)
09.00-12.00

หมวดวิชาที่ 6 การฝึกปฏิบัติ (ต่อ) (Module 6. Workshop (cont.))

 

(ก) การตรวจความปลอดภัย (Safety inspection.)

(ค) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis.)

(ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน (Arrangement of OSH&E manual of working unit.)

12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch) 
13.00-16.30

หมวดวิชาที่ 6 (ต่อ) (Module 6. Workshop (cont.))

 

(จ) การสอบสวน การวิเคราะห์ การรายงานอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยจากการทำงาน (Investigation, analysis and reporting of accident and illness related to work.)

(ฉ) การปรับปรุงสภาพการทำงาน (Working conditions improvement.)

(ช) การรวบรวมสถิติ การจัดทำรายงานด้านความปลอดภัยในการทำงานและเสนอแนะต่อนายจ้าง (Collecting the statistics , arranging the report of safety and propose to the employer.)

16.30-16.45

ทดสอบหลังการอบรม /มอบวุฒิบัตร (Posttest / Certificate)

 

หมายเหตุ : พักเบรก 10.30 - 10.45 น. และ 14.30 - 14.45 น. (Annotation : Fresh break 10.30 - 10.45 AM. and 02.45 - 13.00 PM.)