ประวัติการก่อตั้งสมาคมฯ

             ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรม จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ของคนงานขึ้น ซึ่งเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนจากหลักฐานความเป็นมาในความเปลี่ยนแปลงของการพัฒนา ได้แสดงถึง ความมั่งคั่งของประเทศและประชาชน แต่ในทางกลับกันสิ่งนี้ก็แสดงถึงการขาดความเอาใจใส่ในการดูแลและการ บริหารจัดการความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ ดังนั้นสิ่งที่ติดตามมากับความมั่งคั่งดังกล่าว คือ อุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยของคนทำงานทั้งหลายที่มีอัตราสูงขึ้นเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง

 

            ปี พ.ศ. 2529 ประเทศไทยได้มีการจัดสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ขึ้นเป็นครั้งแรกในระ หว่างวันที่ 1 - 3 มิถุนายน 2529 ในครั้งนั้นคณะกรรมการการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เสนอว่า เห็นเป็นการสมควรที่จะให้มีการจัดตั้งสมาคมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานขึ้น และควรให้มีการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติต่อไปทุกปี โดยให้สมาคมที่จะจัดตั้งขึ้นนี้มีส่วนเข้าร่วมด้วยและมี กรมแรงงาน (ในขณะนั้น) เป็นผู้ประสานงาน

            จากนั้นคณะรัฐมนตรีฯ ภายใต้การผลักดันของ ร้อยตำรวจโทชาญ มนูธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ใน ขณะนั้นได้มีมติให้ความเห็นชอบตามที่กรมแรงงานเสนอ ให้ก่อตั้ง “สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)”  และได้ทำการจดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2530

คณะผู้ก่อตั้งสมาคมฯ ปี 2530 (ตำแหน่งในขณะนั้น)

ร.ต.ท. ชาญ  มนูธรรม
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายไพโรจน์  นิงสานนท์
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นายชำนาญ  พจนา
อธิบดีกรมแรงงาน

นายพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา
 นายกสมาคมอุตสาหกรรมไทย

นายอุดม  วิทยะสิรินันท์
ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย

       เมื่อก่อตั้งสมาคมฯ แล้ว คณะผู้เริ่มการสมาคมฯ ได้มอบหมายให้นายชำนาญพจนา อธิบดีกรมแรงงานในขณะ นั้น เป็นผู้จัดการสมาคมฯ คณะผู้เริ่มการสมาคมฯ ได้ประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2530 สรุปได้ว่า สมาคม ฯ ได้เปิดรับสมัครสมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2530 มีสมาชิก ทั้งสิ้น 154 ราย สมาคมฯ ได้จัดประชุมใหญ่ครั้ง แรกเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2530 โดยเลือกคณะกรรมการ 19 ท่าน ที่ประชุมกรรมการที่เลือกตั้งได้เลือกตั้ง ร.ต.ท. ชาญ มนูธรรม เป็นนายกสมาคมฯ และคณะกรรมการได้จัดประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2530 เพื่อดำ เนินงานของสมาคมฯ ต่อไป

วัตถุประสงค์ของสมาคม ฯ

  1. ส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและนอกงาน โดย

    • การศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    • การผลิต การเผยแพร่ ตำรา สื่อ สิ่งพิมพ์ ข้อมูลข่าวสาร และเอกสารวิชาการ
    • การให้คำปรึกษาแนะนำ
    • การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
    • การอบรม จัดสัมมนา การเรียนการสอน
    • การให้บริการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม
    • การตรวจสอบระบบต่าง ๆ
    • การปรับปรุงและพัฒนาองค์การ

  2. รณรงค์ส่งเสริม เสริมสร้าง จิตสำนึกและวัฒนธรรม ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและนอกงาน โดยการจัดกิจกรรม การประกวดแข่งขัน และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ
  3. ส่งเสริมความร่วมมือ ประสานงาน และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ องค์การเอกชน สถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและนอกงาน
  4. ไม่ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการเมือง

ทำเนียบนายกสมาคมฯ

ร.ต.ท. ชาญ  มนูธรรม
(2530 - 2534)

นายกระจ่าง  ทิวะศะศิธร์
(2534 - 2536)

นายชำนาญ  พจนา
(2536 - 2539) และ 
(2544 - 2546)

ศาสตราจารย์ศิริ  เกวลินสฤษดิ์
(2539 - 2543)

นายรังสฤษฏ์  จันทรัตน์
(2546 - 2549)

นายฐาปบุตร  ชมเสวี
(2549 - 2553)

นายผดุงศักดิ์  เทพหัสดิน ณ อยุธยา 
(2553 - 2557)

ดร.ชัยยุทธ  ชวลิตนิธิกุล
(2557 - 2561)

รศ.ดร.เฉลิมชัย  ชัยกิตติภรณ์
(2561 - 2565)

นายประสพชัย ยูวะเวส 
(2565 - ปัจจุบัน)

วิสัยทัศน์

        " เป็นองค์กรที่ยั่งยืนและเป็นเลิศด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน "

 

รางวัล...แห่งความภาคภูมิใจ

        สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้รับการรับรองระบบมาตรฐานการ บริหารบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 Version 2000 Certificate Number : 74170 จากสถาบันรับรอง UNITED REGISTRAR OF SYSTEM (THAILAND)LTD. เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2546 ซึ่งนับว่าเป็นสมาคม ส่งเสริมด้านความปลอดภัยของประเทศไทยรายแรก ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองจาก BSI Certification Services ในระบบคุณภาพ ISO 9001:2015, ISO17025:2019 และ ISO 45001:2018

 

นโยบายคุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

        “ SHAWPAT มุ่งมั่นและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในการให้บริการอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งการป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน มีสุขภาพอนามัยที่ดีของพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย โดยให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมและให้คำปรึกษาในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง”

 

เครือข่ายต่างประเทศ

  • APOSHO : Asia Pacific Occupational Safety and Health Organization
  • JICOSH : Japan International Center for Occupational Safety and Health
  • JISHA : Japan Industrial Safety and Health Association
  • NSC : U.S. National Safety Council

กิจกรรมเพื่อสังคม

  • กิจกรรมรณรงค์ 3 ป. ปลอดภัย
  • กิจกรรมรณรงค์ ปลุกวัฒนธรรมเพื่อความปลอดภัย
  • จัดตั้งโครงการ จป.อาสา เพื่อนช่วยเพื่อนสู่สังคม

        ซึ่งเป็นการรวบรวมบุคคลากรด้านความปลอดภัยมาร่วมทำกิจกรรมด้านความปลอดภัยเพื่อสังคม โดยมีโครง การนำร่อง 2 โครงการ คือ จป.อาสาพัฒนาโรงเรียนปลอดภัย และสายใย จป.เพื่อนช่วยเพื่อน ได้มีการจัดประชุมการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกสมัครเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 600 คน