หม้อน้ำ คือ ตัวต้นกำลังในโรงงานอุตสาหกรรม ประมาณกันว่าในประเทศไทยมีหม้อไอน้ำ ประมาณ 5000 ลูก อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด คือ การระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของโรงงานและผู้อาศัยอยู่ไกล้เคียง ดั้งนั้น ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยว กับ หม้อน้ำ จึงจำเป็น อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุของหม้อไอน้ำระเบิด

1.สาเหตุมาจากโครงสร้าง

  • ต้นเหตุการระเบิดเนื่องจากโครงสร้างไม่ดี ขาดเทคนิคและเครื่องมือที่เหมาะสม
  • ใช้เหล็กผิดเกรดและความหนาไม่เหมาะกับแรงอัด หรือเกิดการผุกร่อน เพราะเก่าเกินไป
  • ลักษณะของการเชื่อมไม่ดี มีรอยร้าวและตามด ซึ่งเกิดจากความเครียดของรอยเชื่อมขณะทำการเชื่อม
  • ชนิดของลวดเชื่อมไม่เหมาะสมกับเหล็ก ที่ทำตัวหม้อไอน้ำ ทำให้รอยเชื่อมเกิดการร้าว และการผุกร่อนริมรอยเชื่อม
  • มีความเข้มข้นของทางแร่ธาตุภายในหม้อไอน้ำมากเกินไป
  • น้ำในหม้อไอน้ำมีออกซิเจนมาก ขาดเครื่องมือในการไล่ออกซิเจนในน้ำ
  • รอยเชื่อมมีรอยรั่ว ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ที่รอยรั่วจนเกิดการผุกร่อนขึ้น
  • น้ำที่ป้อนให้หม้ออไน้ำมีคุณสมบัติและคุณถาพที่ไม่ถูกต้องตามที่หม้อไอน้ำต้องการ และมีค่า PH ต่ำมีสภาพเป็นกรด
  • วาล์วนิรภัยสร้างไม่ถูกขนาด จึงระบายความดันออกไม่ทัน
  • ระบบอัตโนมัติหยุดเชื้อเพลิงไม่ทำงาน หรือไม่มีระบบอัตโนมัติ ทำให้เมื่อเกิดเปลวไฟดับภายในห้องเผาไหม้จะมีไอของเชื้อเพลิง จำนวนมากสะสมอยู่พอจุดไฟใหม่จึงระเบิดขึ้น

2.สาเหตุมาจากผู้ควบคุม

  • เปิดเตาแล้วทิ้งไว้โดยมิได้เปิดประตูจ่ายไอน้ำ หรือไม่ได้เอาไอน้ำไปใช้ และไม่ได้ลดเชื้อเพลิงลง
  • ไม่ได้ตรวจเช็ควาล์วนิรภัยทุกวัน
  • ไม่ได้ตรวจเช็คและทำความสะอาดเครื่องวัดระดับน้ำ และตรวจสอบแรงอัด Booster Pump ทุกวัน
  • ไม่ได้ตรวจเช็คเกจวัดแรงอัด ( ควรมีเกย์ วัด 2 ตัวเพื่อเปรียบเทียบ )
  • ไม่ได้ตรวจคุณสมบัติและคุณภาพของน้ำ
  • ไม่ได้ตรวจความเข้มข้นของแร่ธาตุในน้ำ ทำให้เกิดรอยร้าว ในลักษณะลายขาไก่
  • ภายในหม้อไอน้ำมีหินปูนเกาะหนา เนื่องจากไม่ได้ตรวจหม้อน้ำนาน (ควรตรวจทุก 3 เดือน )
  • มีน้ำมันหลงเข้าไปในหม้อไอน้ำ หรือน้ำแห้ง
  • หม้อไอน้ำเย็นตัวเร็วเกินไปทำให้เกิดความเครียดและรอยร้าวขึ้น
  • ไม่ได้ทำการตรวจซ่อมใหญ่อย่างน้อยปีละครั้ง 

คำแนะนำในการใช้หม้อไอน้ำ

  • ก่อนติดเตาทุกครั้งให้ตรวจก่อนว่า ในหม้อน้ำมีระดับที่เพียงพอหรือไม่การตรวจนี้ เป็นการทดสอบไปในตัวด้วยว่า ทางเข้า - ออก ของหลอด แก้วตันหรือไม่
  • หม้อน้ำที่ใช้ก๊าซหรือน้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ให้ระบายลมภายในเตาก่อน เพื่อไล่ก๊าซที่อาจตกค้างอยู่ ในหม้อน้ำออกเสียก่อนจึงค่อยติดไฟ เพื่อป้อง กันการลุกไหม้โดยฉับพลันที่เกิดจากก๊าซที่ตกค้างอยู่ในเตา
  • ถ้าเกิดรั่วที่ลิ้นนิรภัย โดยที่ยังอยู่ภายใต้ความดันปกติ ห้าม ใช้วิธี เพิ่มน้ำหนักถ่วง หรือตั้งลิ้นนิรภัยให้แข็งขึ้น
  • ถ้าเกิดรั่วที่หม้อน้ำ ให้หยุดใช้หม้อน้ำทันที และต้องแก้ไขก่อนใช้งาน ต้องได้รับการตรวจเพื่อความปลอดภัย จากเจ้าหน้าที่ตรวจหม้อน้ำ ของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือจาก วิศวกรที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ตามพระราชบัญญัติควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม
  • ลิ้นนิรภัยที่ใช้ ควรเป็นแบบที่ทดสอบได้ง่าย อย่างน้อยควรมีการทดสอบเดือนละครั้ง ว่า ลิ้นนิรภัยยังทำงานได้ดีหรือไม่
  • หลังเลิกงาน เมื่อหยุดใช้หม้อน้ำทุกวัน ควรระบายน้ำทิ้งบ้าง โดยเปิดวาล์วน้ำทิ้งแล้ว นับ 1 - 10 เร็ว ๆ แล้วปิด เฉพาะแหล่งที่มีตะกอนมากควรระบายให้ถี่กว่านี้
  • ตรวจสอบความดัน ของเกจวัดความดันของน้ำที่สูบเข้าหม้อน้ำ ที่สูบเข้าหม้อน้ำถ้าวามดันขึ้นสูงผิดปกติแสดงว่าท่อสูบน้า เข้าหม้อน้ำจะตันแล้ว ต้องรีบแก้ไข ถ้าใช้ต่อไปน้ำอาจจะแห้งได้
  • ให้ใช้หม้อน้ำไม่เกินความดันตามที่กำหนด
  • หม้อน้ำที่มีตะกรันเกาะหนา 1/ 8 นิ้ว อาจจะต้องเปลืองเชื้อเพลิงในการทำให้ร้อนไปเปล่า ๆ ถึง 15 % ดังนั้น ถ้าล้างหม้อน้ำบ่อย ๆ ก็จะดี
  • ถ้าเกิดน้ำแห้งต่ำกว่าระดับหลอดแก้ว ต้องรีบดับไฟ และ ห้ามสูบน้ำ เข้าหม้อน้ำอย่างเด็ดขาด ต้องปล่อยให้เย็นลง และตรวจทดสอบ เพื่อ ความปลอดภัยก่อนใช้งานต่อไป
  • หม้อน้ำที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ควันดำที่เกิดขึ้นเนือ่งจากปรับหัวฉีด และส่วนของอากาศไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ จึงควร หมั่นปรับแต่ง หัวฉีด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์
  • หม้อน้ำทุกลูกควรจะได้รับการตรวจทดสอบ เพื่อความปลอดภัยอย่างน้อยปีละครั้ง

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายสำหรับหม้อไอน้ำ เพื่อความปลอดภัยควรมีอุปกรณ์ดังนี้

  1. ต้องติดตั้งวาล์วนิรภัย (Safety Valve ) อย่างน้อย 2 ชุด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ของบ่าลิ้นนิรภัย ไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตรที่สามารถตรวจ ทดสอบการใช้งานได้ง่าย สำหรับหม้อไอน้ำที่มี พื้นที่ผิว รับความ ร้อนน้อยกว่า 50 ตารางเมตร จะมีลิ้นนิรภัยเพียงหนึ่งชุดก็ได้ ในการติด ตั้ง ลิ้น นิรภัยต้องไม่มีลิ้นปิดเปิด คั่นระหว่างหม้อน้ำกับลิ้นนิรภัย และต้องมีท่อระบายหม้อไอน้ำ จากลิ้นนิรภัย ไปยังที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย
  2. ต้องติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำ ชนิดหลอดแก้ว ไว้ในที่เห็นได้ชัด พร้อมลิ้นปิดเปิด เพื่อตรวจสอบระดับน้ำ และต้องมีท่อระบายที่เหมาะสม ทัง นี้ต้องจัดให้มีเครื่องป้องกันหลอดแก้วด้วย
  3. ต้องติดตั้งเครื่องวัดความดันไอน้ำ ขนาดหน้าปัทม์ เส้นผ่านศูนย์กลางไม้น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร มีเสกลที่สามารถวัดความดันได้ถึง 1.5 - 2 เท่าของความดันใช้งานสูงสุดและต้องมีเครื่องหมายแสดง ระดับความดันอันตราย ไว้ให้เห็นโดยชัดเจน
  4. ต้องติดตั้งเครื่องสูบน้ำเข้าหม้อไอน้ำ ขนาดความสามารถอัดน้ำได้ อย่างน้อย 1.5 เท่า ของความดันใช้งานสูงสุด และความสามารถใน การสูบ น้ำเข้าต้องมากกว่า อัตราการผลิตไอน้ำ
  5. ต้องติดตั้งลิ้นกันกลับ ที่ท่อน้ำเข้า หม้อไอน้ำ โดยติดตั้งให้ใกล้หม้อไอน้ำ มากที่สุด และมีขนาดเท่ากับท่อน้ำเข้า
  6. ต้องติดตั้งลิ้นจ่ายไอน้ำ ที่ตัวหม้อไอน้ำ
  7. โรงงานที่มีหม้อไอน้ำตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ที่ใช้ท่อจ่ายไอน้ำร่วมกัน ต้องติดตั้งลิ้นกันกลับ ที่ท่อหลังลิ้นจ่ายไอน้ำ ของหม้อไอน้ำ แต่ละเครื่อง
  8. หม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว เช่น น้ำมัน ก๊าซ ต้องติดตั้งเครื่องควบคุมความดัน และเครื่องควบคุมระดับน้ำอัตโนมัติ
  9. ต้องติดตั้งสัญญาณเตือนอัตโนมัติ แจ้งอันตราย เมื่อระดับน้ำในหม้อไอน้ำต่ำกว่าระดับใช้งานปกติ
  10. ต้องจัดให้มีฉนวนหุ้มท่อจ่ายไอน้ำโดยตลอด
  11. ท่อน้ำ ท่อจ่ายไอน้ำ ลิ้นปิดเปิด ทุกตัว และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้กับหม้อไอน้ำ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับหม้อไอน้ำเท่านั้น เหมาะสมกับความดัน ใช้งานด้วย
  12. หม้อไอน้ำที่สูงกว่าพื้น 3 เมตรขึ้นไป ต้องติดตั้งบันไดและทางเดินไว้รอบหม้อไอน้ำ
  13. ต้องจัดให้มีลิ้นปิดเปิด เพื่อระบายน้ำ จากส่วนล่างสุดของหม้อไอน้ำ ให้สามารถระบายได้สะดวกไปยังที่ที่เหมาะสมปลอดภัย