สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

การสอบสวนอุบัติเหตุ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อศึกษาและค้นหาสาเหตุ ของการเกิดอุบัติเหตุ และสภาพการณ์ที่เป็นอันตรายต่าง ๆ 
  • เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุ โดยอาศัย การแก้ไข และปรับปรุงที่ถูกต้อง
  • เพื่อพิจารณาค้น หาความจริง ที่เป็นมูลเหตุที่ทำให้คนงาน ทำงานในลักษณะของการกระทำที่ไม่ปลอดภัยหรือไม่ถูก ต้อง ตามข้อบังคับ อันจะ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
  • เพื่อให้ทราบถึงผลของการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ ตลอดทั้งความเสียหายต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูล เป็นการกระตุ้น ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มความสน ใจในการป้องกัน
  • เพื่อประโยชน์ในการเก็บรวบรวมทางสถิติและการวิเคราะห์อุบัติเหตุ

ผู้รับผิดชอบในการสอบสวนอุบัติเหตุ

  • ผู้ควบคุมงาน รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการทำงานของคนงาน ให้ถูกวิธี มีความปลอดภัย เป็นไปตามกฎข้อบัง คับ ของโรงงาน เหมาะสม ในการสืบสวนอุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เกี่ยวข้องกับการป้องกันอุบัติเหตุ และเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานโดยตรง ต้อง มีความรู้และประสบการณ์ ในด้านนี้ จึงจะทำงาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสำคัญในการสอบสวน

  • ผู้สอบสวน ต้องมีความคิดอ่านและสามัญสำนึกที่ชัดแจ้งเป็นรูปธรรม 
  • ผู้สอบสวน ต้องมีความรู้กับขบวนการผลิตคุ้นเคยกับเครื่องจักร คนงาน ตลอดจนสภาพแวดล้อม ต่างๆ ของแผนก ที่เกิดอุบัติเหตุ 
  • ผู้สอบสวน ไม่ควรเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ของหัวหน้างาน หรือผู้ควบคุมงานในแผนกที่เกิดอุบัติเหตุ 
  • การสอบสวนต้องทำทันทีที่เกิดอุบัติเหตุ หรือโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง สิ่งต่าง ๆ ที่อาจก่อ อุบัติเหตุ ต้องสอบสวนอย่างละเอียด ควรกระทำเป็นกลุ่ม หรือ คณะทำงาน เพื่อให้ได้สาเหตุที่แท้จริง การสอบ สวน จะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อมีการทำรายงาน และเสนอแนวทางแก้ไข

ผลที่ได้จากการสอบสวน

  • เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
  • ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นั้น
  • ใครจะเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขป้องกันอุบัติเหตุในครั้งนี้
  • มีข้อเสนอแนะอะไรบ้าง
  • จะดำเนินการตามที่เสนอแนะได้เร็วเพียงใด

การบันทึกและรายงานอุบัติเหตุ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติในการเกิดอุบัติเหตุ การจ่ายเงินทดแทน การวิเคราะห์และสอบสวนอุบัติเหตุ
  • เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุ

หลักการบันทึกและสอบสวน

  • ต้องบันทึกและรายงานการเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง
  • รายงานต้องประกอบด้วยหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เหตุการณ์ การสอบสวนสาเหตุ ข้อเสนอแนะในการแก้ไข และการสั่งการของฝ่ายบริหาร
  • รายงานจะต้องมีลักษณะง่ายต่อการรวบรวมหรือแยกประเภทตามลักษณะสาเหตุหรือการบาดเจ็บหรือเพื่อ ประโยชน์ ใน ทางสถิติ และทางอื่น ๆต่อไป

ประเภทของรายงาน
รายงานอุบัติเหตุ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท

  • รายงานการปฐมพยาบาล เกี่ยวกับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากห้องพยาบาลของโรงงาน หรือ จากสถาน พยาบาล ภายนอก
  • รายงานอุบัติเหตุของหัวหน้างาน หรือ ผู้ควบคุมงาน ซึ่งทำทุกครั้งหลังการเกิดอุบัติเหตุ
  • รายงานอุบัติเหตุประจำเดือน ในลักษณะของ
    • รายงานสรุปเป็นผลวิเคราะห์รวมตามแบบฟอร์ม หรือเป็นผังแสดง
    • รายงานของแต่ละแผนก หรือของคณะกรรมการความปลอดภัย
    • รายงานแสดงรายละเอียดที่จำเป็นจ่อการคำนวนหาความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ และ อัตราความรุนแรง ของ อุบัติเหตุ
  • รายงานสรุปประจำปี
    • เพื่อแสดงแนวโน้มของอุบัติเหตุ และการดำเนินการด้านความปลอดภัยระหว่างปี
    • เพื่อการเปรียบเทียบ กับสถิติอุบัติเหตุในปีที่ผ่าน ๆ มา และการคาดการสำหรับอนาคต

ลักษณะและรายละเอียดในรายงาน  ต้องมีรายละเอียดครบถ้วนดังนี้

  • รายละเอียดของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่นชื่อ อายุ เพศ แผนกที่สังกัด สถานที่ของแผนก ลักษณะงานที่ทำ ประสบการณ์ หรืออายุงานในแผนก
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการประสบอันตราย
  • ชนิดของวัตถุ หรือสารที่ทำให้เกิดอันตราย ต้องระบุชื่อของสิ่งนั้นเลย
  • รายละเอียดเกี่ยวกับอุบัติเหตุ แบ่งแยกเป็นคำถามย่อยลำดับเหตุการณ์ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
    • งานที่ทำขณะเกิดอุบัติเหตุ ควรกำหนดลักษณะการกระทำที่ เฉพาะลงไป ในขณะเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนระบุถึง วัสดุ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่กำลังใช้อยู่
    • เกิดอะไรขึ้น ต้องอธิบายให้ได้ว่า อันตรายเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • ข้อเสนอแนะและความเห็นของผู้สอบสวนเพื่อแสดงให้เห็นข้อผิดพลาดในการทำงาน

สรุป
การบันทึก และ สอบสวนอุบัติเหตุต้องครอบคลุมรายละเอียดดังนี้

Who : ผู้ได้รับบาดเจ็บ

When : เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ

Where : สถานที่ หรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ

What : บรรยายรายละเอียดของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น

How : คนงานได้รับบาดเจ็บอย่างไร

Why : ทำไมถึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น