65127_5.jpg (1200×630)

สาระสำคัญ 

- ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

คำจำกัดความ
กรรมการความปลอดภัย หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
คณะกรรมการความปลอดภัย หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บริหารที่มีหน้าที่และอำนาจทำการแทนนายจ้างในการจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อรองทุกข์ และได้รับมอบหมายเป็นหนังสือให้เป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับนี้
- หน่วยงานความปลอดภัย หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หมวด 1 : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- นายจ้างของสถานประกอบกิจการ (ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง) ที่มีจำนวนลูกจ้างตามเกณฑ์กำหนด ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน มี  2 ประเภท ดังนี้
   1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง (จป.โดยตำแหน่ง : ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร)
   2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ (จป.โดยหน้าที่เฉพาะ : ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ)

ส่วนที่ 1  :  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง

สถานประกอบกิจการ

จป.โดยตำแหน่ง

หัวหน้างาน

ผุ้บริหาร

บัญชี 1 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

บัญชี 3 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป

ทุกคน

ทุกคน

หมายเหตุ สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1,2 และ 3 ท้ายประกาศฯ ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตร จป.ระดับหัวหน้างาน และ จป.ระดับบริหารภายใน 120 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้ง

คุณสมบัติของ จป.โดยตำแหน่ง 

1. จป.ระดับหัวหน้างาน มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

(2) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานตามกฎกระทรวงกำหนด มาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

(3) มีคุณสมบัติตามข้อ 15 ข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี

2. จป.ระดับบริหาร มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

(2) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารตามกฎกระทรวงกำหนด มาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน พ.ศ. 2549

(3) มีคุณสมบัติตามข้อ 21

หน้าที่ความรับผิดชอบของ จป.โดยตำแหน่ง มีดังนี้
1. จป.ระดับหัวหน้างาน มีหน้าที่ดังนี้ 
(1) กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(2) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นจากการทำงาน โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ
(3) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพเพื่อเสนอคปอ.หรือนายจ้างแล้วแต่กรณี และทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุก 6 เดือน
(4) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
(5) ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
(6) กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(7) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยฯ ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยฯ ทันที่ที่เกิดเหตุ
(8) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตรายการเจ็บป่วยหรือการเกิดหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(9) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
(10) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้าง หรือจป.ระดับบริหารมอบหมาย

2. จป.ระดับบริหาร มีหน้าที่ดังนี้
(1) กำกับดูแลจป.ทุกระดับที่อยู่ในบังคับบัญชา
(2) เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
(3) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยบกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
(4) กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานตามข้อเสนอแนะของจป. คปอ. หรือหน่วยงานความปลอดภัย

ส่วนที่ 2 :  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ

สถานประกอบกิจการ

จป.โดยหน้าที่เฉพาะ

ระดับเทคนิค

ระดับเทคนิคขั้นสูง

ระดับวิชาชีพ

บัญชี 1 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่  2  คนขึ้นไป

   

อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป

   

อย่างน้อย 1 คน

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คน (20-49 คน)

อย่างน้อย 1 คน

   

บัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 100 คน (50-99 คน)

 

อย่างน้อย 1 คน

 

หมายเหตุ สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1,2 ท้ายประกาศฯ ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตร จป.ระดับเทคนิค จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง และ จป.ระดับบริหารภายใน 180 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้ง

คุณสมบัติของ จป.โดยหน้าที่เฉพาะ 

1. จป.ระดับเทคนิค มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค

(2) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคตามกฎกระทรวงกำหนด มาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

(3) มีคุณสมบัติตามข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี

2. จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบเท่า และผ่าน การฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และผ่านการประเมิน

(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ เทียบเท่า และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และผ่าน การประเมิน

(3) มีคุณสมบัติตามข้อ 21

(4) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงตามกฎกระทรวงกำหนด มาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

(5) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 หรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง ความปลอดภัยใน การทำงานของพนักงาน ลงวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2534 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และผ่านการประเมิน

(6) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และผ่าน การประเมิน

3. จป.ระดับวิชาชีพ มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ เทียบเท่าตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน (3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่าห้าปีในสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 หรือสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 และผ่าน การฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายใน ห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

(4) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามกฎกระทรวงกำหนด มาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

(5) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายในห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

(๖) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 หรือเป็นผู้มีคุณสมบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. 2534 และผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายในห้าปีนับแต่ วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

หน้าที่ความรับผิดชอบของ จป.โดยหน้าที่เฉพาะ มีดังนี้
1. จป.ระดับเทคนิค มีหน้าที่ดังนี้ 
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย เสนอต่อนายจ้าง
(3) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(4) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(5) รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(6) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
2. จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัย เสนอต่อนายจ้าง
(3) วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(4) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(5) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(6) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดภัยจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(7) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(8) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(9) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
3. จป.ระดับวิชาชีพ มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(2) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
(3) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(4) วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(5) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการ หรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
(6) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(7) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(8) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือ นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(9) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
(10) ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(11) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือ การเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อลูกจ้าง
(12) ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(13) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

ทั้งนี้ ต้องจัดให้ จป.ระดับเทคนิค จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง และจป.ระดับวิชาชีพ ได้รับการฝีกอบรมและพัฒนาความรู้ฯ เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี และกรณีที่ จป.ระดับเทคนิค จป.ระดับเทคนิคขั้นสูง และจป.ระดับวิชาชีพ พ้นจากการเป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องจัดให้มี จป.ดังกล่าวแทน ภายใน 90 วันนับจากวันที่พ้นตำแหน่ง

หมวด 2 : คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ
สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมี คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็น ประธานกรรมการความปลอดภัย ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้างเป็นกรรมการความปลอดภัย

สถานประกอบกิจการ

จำนวน คปอ.
 (คน)

ประธานกรรมการ

(ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร) (คน)

กรรมการความปลอดภัย
 (ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา = ระดับหัวหน้างาน)
 (คน)

กรรมการความปลอดภัย
 (ผู้แทนลูกจ้าง)
 (คน)

กรรมการและเลขานุการ
(บัญชี 1 หรือบัญชี 2)
 (คน)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่  50  คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 100 คน
 (50-99 คน)

ไม่น้อยกว่า 5 คน

1

1

2

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 100 ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 500 คน
 (100-499 คน)

ไม่น้อยกว่า 7 คน

1

2

3

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

จำนวนลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป

ไม่น้อยกว่า 11 คน

1

4

5

1

(จป.เทคนิคขั้นสูง หรือ จป.วิชาชีพ)

หมายเหตุ กรณีสถานประะกอบกิจการตามบัญชี 3 ให้แต่งตั้งผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาเพิ่ม 1 คน เป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการ  ทั้งนี้ คปอ.ต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตรคณะกรรมการปลอดภัย ภายใน 60 วันตั้งแต่วันที่รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือก

คปอ. มีหน้าที่ดังนี้
1. จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน นำเสนอต่อนายจ้าง
2. จัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงาน เสนอต่อนายจ้าง
3. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
4. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
5. พิจารณาคู่มือว่าวด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
6. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และรายงานผลการสำรวจดังกล่าว รวมทั้งสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้นในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทุกครั้ง
7. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงโครงการหรือแผนงานการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร และบุคลากรทุกระดับ เพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
8. จัดวางระบบให้ลูกจ้างทุกคนทุกระดับมีหน้าที่ต้องรายงานสภาพการทำงานไม่ปลอดภัย และนำเสนอต่อนายจ้าง
9. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อนายจ้าง
10. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนี่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
11. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

หมวด 3 : หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 ต้องจัดให้มี หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใน 30 วัน
- สถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจำนวน 200 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มี หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภายใน 60 วัน
หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีหน้าที่ดังนี้
(1) วางแผนการบริหารความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการและดูแลให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
(2) จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุและอุบัติภัย และการควบคุมความเสี่ยงภายในสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
(3) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(4) จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ซึ่งต้องสอดคล้องกับการทำงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมายกำหนดเสนอต่อนายจ้าง เพื่อให้ลุกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ในขณะปฏิบัติงาน
(5) ส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการและการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ  เพื่อป้องกันอันตรายในการทำงานหรือการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ
(6) จัดอบรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ก่อนให้ปฏิบัติงาน รวมทั้งลูกจ้างซึ่งต้องทำงานที่มีความแตกต่างไปจากงานเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่และอาจเกิดอันตรายด้วย
(7) ประสานการดำเนินงานความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ  ทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบกิจการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
(8) ตรวจประเมินระบบความปลอดภัยในการทำงานในภาพรวมของสถานประกอบกิจการ
(9) รวบรวมผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับและติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานของสถานประกอบกิจการ พร้อมทั้งรายงานให้นายจ้างและคณะกรรมการปลอดภัยทราบทุก 3 เดือน
(10) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย
ทั้งนี้ ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยประจำสถานประกอบกิจการ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย และไม่เป็น จป.วิชาชีพ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะด้านบริหาร บังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของหน่วยงานความปลอดภัย

หมวด 4 : การขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย
- ต้องนำรายชื่อ จป.ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย ขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายใน 30 วันนับจากวันที่แต่งตั้ง
- ต้องจัดอบรมให้ จป. และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย ให้มีคุณสมบัติตามที่กำหนด

หมวด 5 : การแจ้งและการส่งเอกสาร
- ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้ง คปอ. ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานของจป.ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน (30 กรกฎาคม) และครั้งที่ 2 ภายใน 30 วันนับจากวันที่ 31 ธันวาคม (31 มกราคม) ของทุกปี

                                                                                                                                                                                             นายเอกชิชย์  สายัณห์

                                                                                                                                                                         ผู้ชำนาญการพิเศษและหัวหน้าครูฝึกอบรมความปลอดภัยฯ

                                                                                                                                                     สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์