หลักสูตร : ความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน)

         กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ.2562 ข้อ 20 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ  รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

         โดยประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2564 หมวด 2 ข้อ 2 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศแก่ลูกจ้างผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

         เนื่องจากการทำงานในที่อับอากาศนับว่าเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน  ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และทรัพย์สินเสียหาย ตลอดจนประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงได้รับอันตรายได้   ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศทุกตำแหน่งหน้าที่จึงต้องได้รับการฝึกอบรม อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อีกทั้งยังส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ และสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการได้ปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎหมายประกาศกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้นายจ้างได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
  • เพื่อให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง ได้รับการฝึกอบรมตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ปี 2564
  • เพื่อให้ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศทุกตำแหน่งหน้าที่ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการฝึกปฏิบัติในแต่ละบทบาทหน้าที่ และมีความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
  • ผู้เข้ารับการอบรมต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555

รายละเอียดหลักสูตร

วิทยากรบรรยาย

  • วิทยากรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขทะเบียนที่ 0501-03-2564-0020

จำนวนผู้เข้าอบรม

  • ไม่เกิน 30 คน ต่อรุ่น

วิธีการฝึกอบรม

  • บรรยาย / สื่อ power point / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ / สถานการณ์จำลอง

วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล

  • ผลการทดสอบก่อน - หลังการอบรม ระยะเวลาเข้ารับการอบรม 100 %

สิ่งที่ได้รับหลังการอบรม

  • วุฒิบัตรรับรองการฝึกอบรม

กำหนดการอบรม

เวลา

กิจกรรม/หัวข้ออบรม

จำนวนเวลา

อบรมวันที่ 1

   

08.30 - 09.00 น.

ลงทะเบียน / ชี้แจงการฝึกอบรม

การทำแบบทดสอบก่อนการอบรม (Pre-Test)

30 นาที

09.00 - 10.00 น.

ภาคทฤษฎี

(ก) กฏหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

1 ชม.

10.00 - 10.30 น.

(ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ

30 นาที

10.30 - 10.45 น.

พักเบรก

15 นาที

10.45 - 11.15 น.

(ข) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ (ต่อ)

30 นาที

11.15 - 12.15 น.

(ค) การชี้บ่งอันตรายและการประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่และงาน และการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ

1 ชม.

12.15 - 13.15 น.

พักกลางวัน

1 ชม.

13.15 - 13.45 น.

(ง) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ และหลักการตัดแยกพลังงานเพื่อความปลอดภัย

30 นาที

13.45 - 14.15 น.

(จ) บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ และการสื่อสารระหว่างผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

30 นาที

14.15 - 14.30 น.

พักเบรก

15 นาที

14.30 - 15.30 น.

(ฉ) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศรวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ

1 ชม.

15.30 - 16.30 น.

(ช) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ

1 ชม.

อบรมวันที่ 2

   

08.00 - 08.30 น.

ลงทะเบียน

15 นาที

08.30 - 09.00 น.

(ซ) การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว

30 นาที

09.00 - 09.30 น.

(ฌ) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย

ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ

30 นาที

09.30 - 10.30 น.

(ญ) เทคนิคการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย

1 ชม.

10.30 - 10.45 น.

พักเบรก

15 นาที

10.45 - 11.45 น.

(ฎ) การควบคุมดูแล การใช้เครื่องป้องกัน อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต

1 ชม.

11.45 - 12.45 น.

พักกลางวัน

1 ชม.

12.45 - 13.15 น.

ภาคปฏิบัติ

(ก) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศในที่อับอากาศ

30 นาที

13.15 - 13.45 น.

(ข) เทคนิคการระบายอากาศ และเครื่องมือการระบายอากาศในที่อับอากาศ

30 นาที

13.45 - 14.15 น.

(ค) เทคนิคการควบคุมการทำงานในที่อับอากาศ

30 นาที

14.15 - 14.30 น.

พักเบรก

15 นาที

14.30 - 15.00 น.

(ง) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ

30 นาที

15.00 - 15.30 น.

(จ) การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตในที่อับอากาศ

30 นาที

15.30 - 16.00 น.

(จ) สถานการณ์การปฏิบัติงานในที่อับอากาศในสภาพปกติ และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

30 นาที

16.00 - 16.30 น.

ทำแบบทดสอบหลังการอบรม (Post-test)

มอบวุฒิบัตร

30 นาที