หลักสูตรเชิงปฏิบัติการ : ผู้ตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย

         พลังงานไฟฟ้านับได้ว่ามีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนทำงธุรกิจของทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาคบริการ หรือภาคอุตสาหกรรม และการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือการใช้พลังงานไฟฟ้านั้น ย่อมมีความเสี่ยงอันตราย ทีจะเกิดความสูญเสีย ทั้งต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน อย่างใหญ่หลวงได้เช่นกัน ความปลอดภัยในการทำงานจึงถูกกำหนดเป็นนโยบายที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก การใช้งานระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยจึงต้องมีการตรวจสอบ โดยอาจแบ่งลักษณะของการตรวจสอบตามความจำเป็นของลักษณะงานได้ ดังนี้

         1. การตรวจสอบ ทดสอบงานติดตั้งระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ก่อนส่งมอบ-รับมอบงาน (งานติดตั้งใหม่)

         2. การตรวจสอบระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า เพื่อการบำรุงรักษา (งานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า)

         3. การตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า (ตามกฎหมาย)

         4. การตรวจประเมินความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า ภายในองค์กรโดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.ทุกระดับ) และคณะกรรมการความปลอดภัยฯในการทำงาน คปอ. การตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้าจึงมีความสำคัญ และมีความจำเป็นต่อทุกองค์กรเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการออกกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้าในหลายฉบับ อาทิเช่น

         กระทรวงแรงงาน กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ.2558 ข้อ 12 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และให้บุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี เป็นผู้จัดทำบันทึก ผลการตรวจสอบและรับรองไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดฯ

         กระทรวงอุตสาหกรรม กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ.2550 ข้อ 5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงาน และรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจำทุกปี โดยวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยรับรองดังกล่าวต้องจัดให้มีเอกสารเป็นหลักฐานฯ

         จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เป็นวิศวกร ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า รวมทั้งช่างเทคนิค ที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยวิศวกรในงานตรวจสอบระบบไฟฟ้า ตลอดจนผู้ที่เตรียมตัวเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าฯตามมาตรา 9 และนิติบุคคลที่เตรียมขอใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่ง พรบ.ความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554 จะต้องทราบ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้าฯ เป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด อันจะนำมาซึ่งความปลอดภัยในการใช้งานระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงต่อไป

วัตถุประสงค์

         2.1 เพื่อเรียนรู้กฎหมายเกี่ยวกับงานตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้าฯ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้าฯ

         2.2 เพื่อเรียนรู้ถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตามแบบฟอร์มที่กฎหมายกำหนด ทั้งแบบฟอร์มของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และแบบฟอร์มของกรมสวัสดิการแลคุ้มครองแรงงาน

         2.3 เพื่อฝึกทักษะในการใช้เครื่องมือทำการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามแบบฟอร์มที่กฎหมายกำหนด โดยอ้างอิงผลการตรวจสอบตามหลักวิศวกรรม และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

         2.4 เพื่อฝึกทักษะในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า รวมทั้งการให้ข้อคิดเห็นประกอบรายงาน

         2.5 เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญในบทบาทหน้าที่ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า

ระยะเวลาการอบรม

  • 3 วัน

ราคาค่าอบรม

(ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
  • 7,500 บาท

  • 7,000 บาท (สมาชิกสมาคม)

เนื้อหาหลักสูตร

 หัวข้อบรรยาย / กำหนดการอบรม (Topic / Program)

 

วันที่ 1 (Day 1)  
08.30 - 09.00

ลงทะเบียนอบรม และชี้แจงการฝึกอบรมแบบทดสอบก่อนการอบรม (Pre-Test)

09.00 - 12.00 

ภาคทฤษฎี

1. กรณีศึกษาอันตรายจากไฟฟ้า และกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า รวมทั้งกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายความปลอดภัยฯ กฎหมายว่าด้วยโรงงานฯ กฎหมายแพ่งและอาญา

2. การเตรียมความพร้อมในการทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า

3. สาระสำคัญตามแบบฟอร์มในการตรวจสอบ และบันทึกผลการตรวจสอบฯ ตามที่กฎหมายกำหนด

4. หัวข้อในการตรวจสอบ รวมทั้งหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบฯ ตามที่กฎหมายกำหนด

12.00 - 13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch)
13.00 - 16.30

ภาคทฤษฎี (ต่อ)

5. การตรวจสอบ และจัดทำบันทึกข้อมูลทั่วไป

6. การตรวจสอบ ระบบแรงสูง หม้อแปลงไฟฟ้า ตู้เมนสวิตช์ ระบบแรงต่ำในอาคาร และบริภัณฑ์ไฟฟ้า

7. เครื่องมือที่จำเป็นในการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า

8. ข้อควรระวัง และ หลักการด้านความปลอดภัยในการทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าฯ
 วันที่ 2 (Day 2)  
08.30 - 09.00  ลงทะเบียน (Registration)
09.00 - 12.00

 ภาคปฏิบัติ

การตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย

12.00 - 13.00  พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch)
13.00 - 16.30

ภาคปฏิบัติ (ต่อ)

การตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย
 วันที่ 3 (Day 3)  
08.30 - 09.00 ลงทะเบียน (Registration)
09.00 - 12.00

1. กรณีศึกษา การจัดทำรายงานผลการตรวจสอบระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้าตามแบบฟอร์มกรมโรงงานอุตสาหกรรม และแบบฟอร์มกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทั้งมาตรา 9 และ 11

2. การจัดลำดับเอกสารประกอบรายงานบันทึกผลการตรวจสอบระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้าฯ
12.00 - 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน (Lunch)
13.00 - 16.00

3. การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้า มาตรา 9 และ 11

4. การประมาณการ อัตราค่าบริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามหลักเกณฑ์ ที่กฎหมายกำหนด

5. การบันทึกแจ้งรายงานผลการให้บริการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าฯ ตามที่กฎหมายกำหนด
16.00 - 16.30

แบบทดสอบหลังการอบรม (Post-test)

มอบวุฒิบัตร

 

หมายเหตุ : พักเบรก 10.30 - 10.45 น. และ 14.30 - 14.45 น. (Annotation : Fresh break 10.30 - 10.45 AM. and 02.45 - 13.00 PM.)

ภาพกิจกรรมอบรม