สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

137 1

ความเป็นมาของการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ

       เมื่อช่วงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2528 ได้มีการหารือระหว่างหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับการพัฒนางานความปลอดภัยในการทำงาน ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า นอกจากกฎหมาย การตรวจแรงงาน การศึกษาวิจัย การทดสอบวิเคราะห์ปัญหาสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแล้วสมควรจะมีกิจกรรมเสริมโดยการจัดงาน “สัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน” ระดับประเทศเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ กระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานในประเทศไทย อีกทั้งยังให้เป็นศูนย์กลางของกลุ่มบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้บริหาร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป ให้มาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิชาการ แนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหา และเป็นแหล่งแสดงผลงานวิชาการด้านความปลอดภัยที่ประสบความสำเร็จในสถานประกอบการ เพื่อการเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของคนทำงาน ความเสียหายและความทุกข์ของคนที่ได้รับอันตรายจากการทำงาน รวมถึงความเสียหายจากทุกคนที่มีส่วนได้รับจากการนั้นด้วย

        การจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ  ได้ดำเนินการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี และในปี 2559  นับเป็นครั้งที่ 30 สสปท.ได้รับการส่งมอบจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อดำเนินการจัดงานดังกล่าวร่วมกับสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ชื่องานใหม่ว่า  งานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ Thailand Safe@work

 

        18 ธันวาคม 2528 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน อันประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการ องค์กรของรัฐและเอกชนเป็นกรรมการร่วมกัน และมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นเลขานุการ 

 

       ปี พ.ศ. 2529 ประเทศไทยได้มีการจัดสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ขึ้นเป็นครั้งแรกในระ หว่างวันที่ 1 - 3 มิถุนายน 2529 ในครั้งนั้นคณะกรรมการการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เสนอว่า เห็นเป็นการสมควรที่จะให้มีการจัดตั้งสมาคมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานขึ้น และควรให้มีการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติต่อไปทุกปี โดยให้สมาคมที่จะจัดตั้งขึ้นนี้มีส่วนเข้าร่วมด้วยและมี กรมแรงงาน (ในขณะนั้น) เป็นผู้ประสานงาน

 

137 2  137 4      20 มกราคม 2535 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 1 – 5 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ และให้จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เป็นกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานในช่วงเวลาเดียวกัน

 
         26 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติยกเลิกวันที่ 1-5 กรกฎาคม เป็นสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ และให้วันที่ 10 พฤษภาคม เป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ตามข้อเรียกร้องขององค์กรลูกจ้างกรณีเกิดเพลิงไหม้บริษัท เคเดอร์ อินดัสเตรียล (ไทยแลนด์) จำกัด ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 188 คน และให้มีการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ในช่วงเวลาเดียวกัน การจัดงานจึงได้เริ่มจัดในช่วงเวลาคาบเกี่ยววันที่ 10 พฤษภาคม ตั้งแต่ครั้งที่ 12 (พ.ศ.2541) เป็นต้นมา

 


137 5         กิจกรรมหลักในการจัดงานได้แก่ การสัมมนาวิชาการ การจัดนิทรรศการ การประกวดต่าง ๆ เช่นการประกวดสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัยในการทำงาน การประกวดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ประกวดภาพถ่ายความไม่ปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

 

137 3 

ภาพกิจกรรมการจัดงาน

คณะกรรมการการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ (ในขณะนั้น)

อำนาจหน้าที่

  • กำหนดนโยบายการส่งเสริมคามปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย
  • กำกับและอำนวยการเพื่อให้การรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัยเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
  • รณรงค์สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นในสังคมแรงงาน
  • จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน
  • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานเฉพาะกิจได้ตามความจำเป็น

 

คณะกรรมการประกอบด้วย

ฝ่ายรัฐบาล
  • รองนายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • ปลัดกระทรวงแรงงาน
  • ปลัดกรุงเทพมหานคร
  • ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
  • เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  • เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
  • อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
  • อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • อธิบดีกรมควบคุมโรค
  • อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
  • อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  • อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • ผู้อำนวยการสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
  • ผู้อำนวยการกองตรวจความปลอดภัย
ฝ่ายลูกจ้าง
  • นายชัยพร จันทนา
  • นายสมศักดิ์ ดวงรัตน์
  • นายอนุวัฒน์ ธุมชัย
  • ฝ่ายนายจ้าง
  • นายจรินทร์ งาดีสงวนนาม
  • นายเดชบุญ มาประเสริฐ
  • นายธำรง คุโณปการ
ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย)
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์
  • นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา